Top
x

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (MF)

  • สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นมืออาชีพด้านการเงิน การวางแผนทางการเงิน
  • เป็นหลักสูตรที่สร้างความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ด้านการเงิน จากการเรียนรู้ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
  • ส่งเสริมจริยธรรมและมาตราฐานวิชาชีพทางการเงิน
  • สามารถเลือกเรียนเฉพาะทางการเงินที่สนใจ -การเงินองค์กร -การลงทุน -การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน -การวางแผนทางการเงิน
  • เนื้อหามีความสอดคล้องกับประกาศนียบัตรวิชาชีพทางการเงิน CFA, FRM, CFP
ภาพรวมเกี่ยวกับโครงการ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (MF) (เรียนวันเสาร์ - อาทิตย์)

What:  เป็นหลักสูตรทางการเงินมหาบัณฑิตภาษาไทย  เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุณภาพการศึกษา จากคณะบริหารธุรกิจ นิด้า ที่ได้รับการรับรองมาตราฐานจากองค์กรระดับนานาชาติ AACSB (The Association to Advance Collegiate Schools of Business)  มีปรัชญา “มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีทางการเงิน และสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกอปรด้วยจรรยาบรรณทางวิชาการ จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ รวมทั้งมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวคิดการเงินเพื่อความยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของสังคมและประเทศชาติ”

Why : เหมาะสำหรับผู้ที่มองการณ์ไกลและไฝ่สำเร็จทางอาชีพด้านการเงิน ที่ขยายโอกาสสร้างรายได้ ด้วยการเติมเต็มศักยภาพและเพิ่มทางเลือกใหม่ๆ สู่การเป็นนักบริหารการเงินมืออาชีพ อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักบริหารที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ
  2. นักบริหารที่ปฏิบัติงานในภาคเอกชน
  3.  นักวิชาการด้านการเงิน
  4. ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน
  5. บุคลากรในหน่วยงานของรัฐหรือสถานประกอบการทางด้านการเงิน การธนาคาร
  6. เจ้าของธุรกิจ
  7. อาชีพอิสระ เช่น นักลงทุนอิสระ, อินฟลูเอนเซอร์ด้านการเงิน เป็นต้น

When :เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานประจำจันทร์ถึงศุกร์ และใช้วันหยุดเสาร์อาทิตย์ เพื่อการศึกษาเพิ่มพูนความรู้ระดับปริญญาโท

How : สามารถเลือกเรียนเฉพาะทางตามความสนใจเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญและนำไปใช้ในการการทำงานหรือเพื่อเตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพทางการเงินต่างๆ CFA, FRM,  CFP

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน

 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน 
Master of Science Program in Finance 
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  36  หน่วยกิต

 

 

วิชานี้เพื่อพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และ ให้สอดคล้องกับทักษะและองค์ความรู้ที่สถาบันให้ความสำคัญ ซึ่งเป็นทักษะเฉพาะ จำนวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านดิจิทัล 2) ด้านการเป็นพลเมืองโลก 3) ด้านการพัฒนาภาวะความเป็น และ 4) ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

วิชานี้สร้างเสริมทักษะการอ่านบทความจากหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งประกอบด้วยทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญและสนับสนุน การตีความประโยค การเข้าใจจุดประสงค์และน้ำเสียงของผู้เขียน การอ่านแบบข้ามเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ การตีความคำพูดอ้างอิงและข้อมูลจากรูปภาพ การหาความสัมพันธ์ของประโยค การเดาความหมายของคำศัพท์และสำนวนจากบริบท โดยในการพัฒนาทักษะเหล่านี้ นักศึกษาจะมีโอกาสในการทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนคำศัพท์ การคิดเชิงวิพากษ์และการทำงานร่วมกันควบคู่กันไปทุกครั้ง

วิชานี้เน้นการฝึกทักษะและกลยุทธการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพิ่มเติมและซ่อมเสริมทักษะดังกล่าวสำหรับนักศึกษาที่ยังบกพร่องในการเรียนวิชา ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนในลักษณะเฉพาะบุคคลมากขึ้น

วิชานี้มีเนื้อหาและกิจกรรมเน้นที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเชิงวิชาการเบื้องต้น

วิชานี้เน้นการฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพิ่มเติมและซ่อมเสริมทักษะดังกล่าวสำหรับนักศึกษาที่ยังบกพร่องในการเรียนวิชา ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้วยการสอนและฝึกในลักษณะเฉพาะบุคคล

แนวทางการตัดสินใจทางการเงินบนพื้นฐานของข้อมูลจากงบการเงิน การเตรียมงบการเงิน การตีความงบการเงินเพื่อใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานและความเสี่ยงของกิจการและเพื่อใช้ในการประเมินมูลค่าของกิจการ

ทฤษฎีพื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์รวมทั้งการประยุกต์ใช้เศรษฐศาสตร์ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ทางการลงทุนและการเงินองค์กร แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทาน ทฤษฎีการผลิตและต้นทุน โครงสร้างตลาดและเศรษฐศาสตร์ของข้อมูลข่าวสาร การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน บัญชีรายได้ประชาชาติ การจ้างงาน เงินเฟ้อ ฐานเงินและอัตราดอกเบี้ย การวิเคราะห์อุปสงค์รวมและอุปทานรวม นโยบายการคลังและนโยบายการเงิน แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการอธิบายเหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในตลาดการเงิน

ระบบการเงินและตลาดการเงิน ประเภทของสินทรัพย์และตราสารทางการเงิน ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารทุน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดการเงินต่างประเทศ การซื้อขายหลักทรัพย์ สถาบันทาง การเงินต่าง ๆ

จรรยาบรรณในการทำธุรกิจ บรรษัทภิบาล จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพจากสถาบัน CFA สำหรับผู้ที่ทำอาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน

สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน พื้นฐานของความน่าจะเป็นทางสถิติและการกระจายตัวของข้อมูล การสุ่มตัวอย่าง การทดสอบสมมติฐานหนึ่งตัวอย่างและช่วงความเชื่อมั่น สมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและแบบหลายตัวแปร การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน การประยุกต์ใช้ไคสแควร์

เทคนิคทางสถิติและคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาด้านการเงิน ข้อมูลอนุกรมเวลาเมื่อเทียบกับข้อมูลแบบตัดขวาง ข้อมูลแบบตัดขวางเมื่อเทียบกับข้อมูลแบบพาเนล การสร้างแบบจำลองและการพยากรณ์อนุกรมเวลาตัวแปรเดียว ซอฟต์แวร์ทางด้านเศรษฐมิติในการประมาณค่าแบบจำลอง การตีความผลของการประมาณค่า

กรอบความคิดสำหรับการเงินองค์กร แนวคิดเรื่องการเงินเพื่อความยั่งยืน มูลค่าของเงินตามเวลา การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ความเสี่ยงและผลตอบแทน การพยากรณ์ทางการเงิน การประมาณราคาตราสารทุนและตราสารหนี้ การจัดทำงบประมาณเงินทุน การประมาณค่าต้นทุนเงินทุน โครงสร้างเงินทุน นโยบายการจ่ายปันผล การบริหารเงินทุนหมุนเวียน

มุมมองในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติของการประเมินมูลค่าของตราสารทุน การวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค การวิเคราะห์อุตสาหกรรม แบบจำลองต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินมูลค่าตราสารทุน การบริหารพอร์ตโฟลิโอหุ้น การสร้างพอร์ตโฟลิโอที่ได้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่คุ้มค่าที่สุด การลงทุนอย่างยั่งยืน

การประเมินมูลค่าของตราสารหนี้และการประยุกต์ใช้ตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน รวมทั้งตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงบนตราสารหนี้ การวิเคราะห์ตราสารหนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้แบบไร้ความเสี่ยง ความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารหนี้ การบริหารความเสี่ยงของราคาตราสารหนี้ที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไป การบริหารพอร์ตโฟลิโอตราสารหนี้

มุมมองทางทฤษฎีและทางปฏิบัติของตราสารอนุพันธ์ ตราสารอนุพันธ์ชนิดต่าง ๆ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สและฟอร์เวิร์ด สวอป ตราสารสิทธิ์ แนวคิดของกลยุทธ์การซื้อขายและการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ตราสารอนุพันธ์ บทบาทของตราสารอนุพันธ์ในการบริหารความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ

มุมมองในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติต่อการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก การวิเคราะห์สินทรัพย์ทางเลือกประเภทต่าง ๆ บทบาทของสินทรัพย์ทางเลือกที่มีต่อพอร์ตโฟลิโอการลงทุนแบบดั้งเดิม กองทุนป้องกันความเสี่ยง ธุรกิจเงินร่วมลงทุน หุ้นนอกตลาด อสังหาริมทรัพย์และของสะสม

ทฤษฎีพอร์ตโฟลิโอสมัยใหม่ ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพและนัยยะของทฤษฎี แบบจำลองการตั้งราคาสินทรัพย์เสี่ยง แบบจำลองการกำหนดราคาแบบอาบิทราจ และแบบจำลองแบบการตั้งราคาสินทรัพย์เสี่ยงแบบหลายปัจจัย

พื้นฐานที่สำคัญของการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล การสื่อสารกับลูกค้า ความเข้าใจในอคติทางจิตวิทยาที่มีต่อการตัดสินใจทางการเงินของลูกค้า การวางแผนการลงทุน การวางแผนการประกัน การวางแผนภาษี การวางแผนมรดก การวางแผนเพื่อการเกษียณ

แนวคิดและกระบวนการการบริหารพอร์ตโฟลิโอการลงทุนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินของนักลงทุนสถาบัน การเก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้า การเขียนนโยบายการลงทุน การจัดสรรเงินลงทุนของพอร์ตโฟลิโอไปในสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับลูกค้า การซื้อหลักทรัพย์ที่ต้องการตามที่จัดสรรไว้การประเมินผลการดำเนินงานของพอร์ตโฟลิโอการลงทุน

แนวคิดพื้นฐานของการเงินเชิงพฤติกรรม ทฤษฎีอรรถประโยชน์ ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ อโนมาลี่ ข้อจำกัดของการทำอาบิทราจ ทฤษฎีความคาดหวัง ระบบบัญชีในสมอง อคติอันเกิดจากจิตวิทยา การลงทุนในหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโต การลงทุนแบบโมเมนตัม

พื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน แบบจำลองการประเมินราคาและความเสี่ยงของตราสารทางการเงินประเภทต่าง ๆ การวัดและการบริหารความเสี่ยงอันเกิดจากราคาสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปสำหรับสถาบันการเงินต่าง ๆ

พื้นฐานของการวัดและการบริหารความเสี่ยงทางด้านเครดิต ตราสารอนุพันธ์ทางด้านเครดิต การสร้างแบบจำลองความเสี่ยงทางด้านเครดิต การจัดทำคะแนนความเสี่ยงทางด้านเครดิต การบริหารความเสี่ยงทางด้านเครดิตสำหรับสถาบันการเงินต่าง ๆ

ประเด็นความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเป็นธรรมในสังคมที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการเงิน บทบาทของการเงินที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเงินเพื่อความยั่งยืนและการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกการกำหนดราคาคาร์บอน ตราสารทางการเงินเพื่อความยั่งยืนและการกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่กิจกรรมในภาคเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน ผลของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลที่มีต่อการตัดสินใจทางการเงิน

แนวความคิดในการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการธุรกิจต่าง ๆ การกำหนดรูปแบบธุรกิจและความเป็นไปได้ของตลาด ความเป็นไปได้ทางด้านการดำเนินงานของธุรกิจ ความเป็นไปได้ทางด้านกำลังคน ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการธุรกิจ การทำและนำเสนอการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการธุรกิจ

เทคโนโลยีทางการเงินและบทบาทที่มีต่อการปรับปรุงการให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิมให้รวดเร็วขึ้น การเงินแบบไร้ตัวกลาง สินทรัพย์ดิจิทัลและคริปโตเคอร์เรนซี เทคโนโลยีบล็อกเชน

การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินด้วยการเขียนโปรแกรมภาษา Python และ R เพื่อการตัดสินใจทางการเงินที่อยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน การประยุกต์ใช้ของการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน กลยุทธ์การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณอย่างการซื้อขายความถี่สูง การสร้างแบบจำลองความเสี่ยง การให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้การทำงานด้วยตนเอง ปัญญาประดิษฐ์ การทำเหมืองข้อมูล

พื้นฐานทางทฤษฎีของโครงสร้างจุลภาคของตลาด โครงสร้างตลาดแบบต่าง ๆ ชนิดของผู้เล่นในตลาด พฤติกรรมของนักลงทุนที่ใช้ข้อมูลข่าวสาร การนำไปสู่ราคาที่แท้จริงของหลักทรัพย์ สภาพคล่องและความผันผวน มาตรวัดต้นทุนของการซื้อขายแบบต่าง ๆ หลักฐานเชิงประจักษ์ทางด้านโครงสร้างจุลภาคของตลาด ทั้งในตลาดการเงินไทยและตลาดการเงินประเทศอื่น ๆ

ความรู้พื้นฐานสำหรับการสร้างแบบจำลองทางการเงินต่าง ๆ ในเอ็กซ์เซล แบบจำลองทางการเงินแบบมาตรฐานในการเงินองค์กร แบบจำลองของการบริหารพอร์ตโฟลิโอ แบบจำลองของการหาราคาออปชัน แบบจำลองของการบริหารตราสารที่ให้รายได้คงที่

ทฤษฎีทางด้านการเงินองค์กรและการประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจด้านการเงินขององค์กรอย่างเหมาะสม ต้นทุนเงินทุนและการจัดงบประมาณเงินทุน ทฤษฎีชั้นสูงทางด้านโครงสร้างเงินทุนและทางด้านนโยบายการจ่ายปันผล ตราสารทางการเงินขององค์กรที่ซับซ้อน การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทางเลือกแฝงของโครงการ การนำบริษัทเสนอขายสู่สาธารณชน การปรับโครงสร้างองค์กร การประเมินมูลค่าของการควบรวมกิจการ การประเมินมูลค่าของการซื้อกิจการ บรรษัทภิบาล การเข้าควบคุมกิจการ

ธุรกิจของวาณิชธนกิจ การประเมินมูลค่าบริษัท ธุรกิจการจัดจำหน่ายตราสารทุนและตราสารหนี้ การแปลงสินทรัพย์ การควบรวมกิจการ การใช้หนี้เพื่อซื้อกิจการ การปรับโครงสร้างองค์กร ประเด็นทางด้านกฎหมาย จริยธรรมและธรรมาภิบาลในธุรกิจวาณิชธนกิจ

สภาพแวดล้อมทางการเงินระหว่างประเทศและปัญหาในการบริหารการเงินระหว่างประเทศ ระบบการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงินระหว่างประเทศ แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และนักลงทุนระหว่างประเทศ การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับธุรกิจ การบริหารสินทรัพย์ หนี้สิน และโครงสร้างของเงินทุน

กระบวนการและวิธีการทำงานวิจัยทางการเงิน การออกแบบงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรมและพัฒนาสมมติฐานงานวิจัย การเลือกวิธีการทำวิจัยที่เหมาะสม ทักษะทางการเขียนโปรแกรมเพื่อทำงานวิจัยทางการเงิน

หัวข้อที่สำคัญของการวิเคราะห์ทางการเงินและการลงทุนต่อการปฏิบัติหน้าที่นักวิเคราะห์ทางการเงินและผู้จัดการกองทุน จรรยาบรรณทางการเงิน บัญชีการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การบริหารพอร์ตโฟลิโอลงทุน เตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร Chartered Financial Analyst(CFA®) ระดับที่ 1

หัวข้อที่สำคัญของการวิเคราะห์ทางการเงินและความเสี่ยงในการทำหน้าที่นักวิเคราะห์และผู้จัดการความเสี่ยง ตลาดการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การวิเคราะห์เชิงปริมาณ แบบจำลองการประเมินมูลค่า การวัดและการบริหารความเสี่ยง การบริหารการลงทุน เตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร Financial Risk Manager (FRM®)

หัวข้อหลักสำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน การวางแผนการลงทุน การวางแผนความเสี่ยงและการประกันภัย การวางแผนภาษี การวางแผนรายได้และการเกษียณ การวางแผนที่ดินและมรดก การวางแผนทางการศึกษา เตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร Certified Financial Planner (CFP®)

การศึกษาในหัวข้อพิเศษและทันสมัยทางการเงิน ซึ่งคณะจะกำหนดให้เรียนตามความเหมาะสม โดยหัวข้อเรื่องจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนเปิดภาคการศึกษา บุพวิชา: ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของผู้สอน

ศึกษา ค้นคว้าและวิจัยในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งทางการเงินโดยทำการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผลการวิจัย และอภิปรายผล

คุณสมบัติของผู้สมัคร

         1.1 กรณีสอบข้อเขียน

                   คุณสมบัติของผู้สมัครสอบข้อเขียนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (Master of Science Program in Finance) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                  1.1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง

                   1.1.2 มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปี นับจนถึงวันเปิดภาคการศึกษา

                   หมายเหตุ ผู้สมัครที่สอบข้อเขียนผ่านแล้ว ไม่ต้องสมัครสอบสัมภาษณ์สามารถเข้าสอบสัมภาษณ์ได้ตามวันเวลาที่ระบุในประกาศผลการสอบข้อเขียนในครั้งที่สมัครสอบข้อเขียนเท่านั้น

 

          1.2 กรณีสอบสัมภาษณ์ (เกียรตินิยม/ยื่นคะแนนสอบ)

                    คุณสมบัติของผู้สมัครสอบสัมภาษณ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (Master of Science Program in Finance) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                    1.2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับรองจากสำนักงาน ก.พ. และ/หรือ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ดังนี้

                        1.2.1.1 เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม หรือ

                        1.2.1.2 มีผลการสอบข้อเขียน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (Master of Science Program in Finance) ที่มีระดับคะแนน 500 ขึ้นไป โดยผลคะแนนยังไม่หมดอายุ

                   1.2.2 มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปี นับจนถึงวันเปิดภาคการศึกษา

 

เอกสารประกอบการสมัคร

สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ดาวน์โหลด >> ประกาศรับสมัคร 

 

การพิจารณาคัดเลือก

1.สอบข้อเขียน

     ข้อสอบข้อเขียนจำนวน 70 ข้อ (ข้อสอบแบบปรนัย) ใช้เวลาทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง

     แบ่งเป็น   1.1  ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์มีจำนวน ทั้งหมด 30 ข้อ

                     1.2  การวิเคราะห์และใช้เหตุผล 20 ข้อ

                     1.3 ภาษาอังกฤษ 20 ข้อ

2.พิจารณาจากใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร

3.สอบสัมภาษณ์

หมายเหตุ :      

  1. การคัดเลือกผู้สมัคร เข้าศึกษาต่อในหลักสูตร อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร และคณะกรรมการรับนักศึกษาของสถาบัน โดยการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการดังกล่าว ถือเป็นที่สุด
  2.  กรณีที่หลักสูตร/สาขาวิชา/สาขาวิชาเอกใด ๆ คัดเลือกนักศึกษาได้ต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด สถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่เปิดสอนในหลักสูตร/สาขาวิชา/สาขาวิชาเอกนั้นๆ โดยผู้สมัครจะฟ้องร้องเอาความสถาบันฯ ไม่ได้

 

**หมายเหตุ: สถาบันสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนกำหนดการรับนักศึกษา/อัตราคาธรรมเนียมการศึกษา และหลักสูตรที่จะทำการเปดสอน โดยมิตองแจงใหทราบลวงหนา ทั้งนี้ ใหเปนไปตามประกาศของสถาบัน

กำหนดการ รุ่นที่ 7 ปี 2568

สมัครสอบข้อเขียน
คลิกเพื่อดาวน์โหลดใบสมัคร

รอบสุดท้าย สมัครด่วน!!
ตั้งแต่ บัดนี้ - 15 พฤษภาคม 2568

สมัครออนไลน์ที่
คลิก http://entrance.nida.ac.th

รอบสุดท้าย สมัครด่วน!!
ตั้งแต่ บัดนี้ - 15 พฤษภาคม 2568

สมัครสอบสัมภาษณ์
คลิกเพื่อดาวโหลดใบสมัคร

รอบสุดท้าย สมัครด่วน!!
บัดนี้ - 31 พฤษภาคม 2568

ประกาศรายชื่อและสถานที่สอบข้อเขียน

21 พฤษภาคม 2568

วันสอบข้อเขียน

25 พฤษภาคม 2568

ประกาศผลสอบข้อเขียน

30 พฤษภาคม 2568

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์

6 มิถุนายน 2568

วันสอบสัมภาษณ์

11 - 13 มิถุนายน 2568

ประกาศผลคัดเลือก

20 มิถุนายน 2568

รับเอกสารขึ้นทะเบียนและลงทะเบียน

20 - 26 มิถุนายน 2568

ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา

20 - 27 มิถุนายน 2568

เรียน Intensive Course

เดือนกรกฎาคม 2568

ปฐมนิเทศ

2 - 3 สิงหาคม 2568

เปิดภาคเรียน

9 สิงหาคม 2568

ค่าสมัครสอบ

1,200 บาท

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

288,300 บาท

ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตร

2 ปี

วัน เวลาเรียน

 เสาร์- อาทิตย์

ภาษาที่ใช้เรียน

ภาษาไทย

 

คลิกเพื่อดูประกาศรับสมัคร

ดาวน์โหลดใบสมัคร

ดูทั้งหมด

เอกสารเผยแพร่

ดูทั้งหมด

ภาพกิจกรรม

ดูทั้งหมด