Top
x

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง โครงการ Flexible - CFIRM (เรียนในเวลาราชการ และ เสาร์ อาทิตย์)

  • สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นมืออาชีพด้านการเงิน การเงินองค์กร การลงทุน การบริหารความเสี่ยง การวางแผนทางการเงิน
  • เป็นหลักสูตรที่สร้างความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ด้านการเงิน จากการเรียนรู้ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
  • สามารถเลือกเรียนเฉพาะทางการเงินที่สนใจ -การเงินองค์กร -การลงทุน -การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน -การวางแผนทางการเงิน ทั้งในวันธรรมดา และวันเสาร์ อาทิตย์
  • เนื้อหามีความสอดคล้องกับประกาศนียบัตรวิชาชีพทางการเงิน CFA, FRM, CFP
ภาพรวมเกี่ยวกับโครงการ

Flexible - CFIRM

เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าศึกษามีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น Flexible - CFIRM เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่สนใจ ซึ่งสะดวกมาเรียนทั้งในวัน-เวลาราชการ และวันเสาร์ อาทิตย์ โดยที่นักศึกษาจะสามารถเรียนบางวิชาในวัน-เวลาราชการ และบางวิชาเรียนในวันเสาร์-อาทิตย์

What:  เป็นหลักสูตรทางการเงินมหาบัณฑิตภาษาไทย  เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุณภาพการศึกษา จากคณะบริหารธุรกิจ นิด้า ที่ได้รับการรับรองมาตราฐานจากองค์กรระดับนานาชาติ AACSB (The Association to Advance Collegiate Schools of Business)

Why : เหมาะสำหรับผู้ที่มองการณ์ไกลและใฝ่สำเร็จทางอาชีพด้านการเงิน ที่ขยายโอกาสสร้างรายได้ ด้วยการเติมเต็มศักยภาพและเพิ่มทางเลือกใหม่ๆ สู่การเป็นนักบริหารการเงินมืออาชีพ

When : วัน - เวลาราชการ และเสาร์ อาทิตย์

How : สามารถเลือกเรียนเฉพาะทางตามความสนใจเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญและนำไปใช้ในการการทำงานหรือเพื่อเตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพทางการเงินต่างๆ CFA, FRM,  CFP

โครงการ Flexible CFIRM (เรียนในเวลาราชการ และ เสาร์ อาทิตย์)   

โครงการ Flexible CFIRM (เรียนในเวลาราชการ และ เสาร์ อาทิตย์)   

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง (ภาคพิเศษ) 

คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

Based on appropriate major or academic background, students may be

วิชานี้ครอบคลุมแนวคิดและประเด็นที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและการตีความของงบการเงิน การใช้ข้อมูลทางการเงินในการประเมินและควบคุมองค์กร

วิชานี้ครอบคลุมระบบการเงินและโครงสร้างตลาดการเงิน สภาพแวดล้อมของการลงทุน ประเภทของสินทรัพย์และตราสารทางการเงิน ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารทุน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดการเงินระหว่างประเทศ การซื้อขายหลักทรัพย์ กองทุนรวม ผลตอบแทนและความเสี่ยงของสินทรัพย์ต่างๆ การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์เบื้องต้น ทฤษฎีการลงทุนแบบกลุ่มหลักทรัพย์ การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ แบบจำลองกำหนดราคาหลักทรัพย์ และแนวคิดและการวางแผนการลงทุน

วิชานี้จะครอบคลุมจรรยาบรรณในการทำธุรกิจและปฏิบัติวิชาชีพทางการเงินต่างๆ เช่น จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพจากสถาบัน CFA สำหรับผู้ที่ทำอาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน จรรยาบรรณของสถาบัน GARP สำหรับผู้ประกอบอาชีพด้านการบริหารความเสี่ยง และจรรยาบรรณสำหรับนักวางแผนทางการเงิน เป็นต้น

วิชานี้ครอบคลุมการหาผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ การวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ และบทบาทของนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน นอกจากนี้ วิชานี้จะขยายไปยังระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ วิชานี้ยังครอบคลุมทฤษฎีทางเลือกของผู้บริโภค การประมาณการและการคาดการณ์อุปสงค์ ทฤษฎีการผลิตและต้นทุน โครงสร้างตลาด ทฤษฎีเกมส์ ทฤษฎีการตั้งราคา ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานของตลาดปัจจัย และการตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน

วัตถุประสงค์ของวิชานี้เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เบื้องต้นในการประยุกต์ใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานที่หลากหลาย โดยเฉพาะนักศึกษาจะได้รับการสอนพื้นฐานของความน่าจะเป็นทางสถิติและการกระจาย การสุ่มตัวอย่าง การทดสอบสมมติฐานหนึ่งตัวอย่างและช่วงความเชื่อมั่น สมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและแบบหลายตัวแปร การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการประยุกต์ใช้ไคสแควร์ การวิเคราะห์ทางสถิติจะดำเนินการโดยใช้เอ็กซ์เซลเป็นหลัก ดังนั้นนักศึกษาควรมีความคุ้นเคยเกี่ยวกับเอ็กซ์เซล

วัตถุประสงค์ของวิชานี้เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในการประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติและคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาด้านการเงิน หัวข้อต่างๆ รวมถึงข้อมูลอนุกรมเวลาเมื่อเทียบกับข้อมูลแบบตัดขวาง ข้อมูลแบบตัดขวางเมื่อเทียบกับข้อมูลแบบพาเนล การสร้างแบบจำลองและการพยากรณ์อนุกรมเวลาตัวแปรเดียว กระบวนการไวท์น๊อยซ์ การทดสอบสมมติฐานที่ไม่ทับซ้อนกัน ทฤษฎีการแบ่งของโวลด์ โมเมนต์ของกระบวนการออโต้รีเกรสซีฟ ฟังก์ชั่นการสูญเสียทางการเงินหรือทางเศรษฐศาสตร์เมื่อเทียบกับทางสถิติ นอกจากนี้ วิชานี้ยังครอบคลุมหัวข้อที่คัดเลือกมาในการวิเคราะห์เชิงปริมาณของตลาดการเงิน

Choose 9 credits from the following courses:

วิชานี้ครอบคลุมกรอบความคิดสำหรับการบริหารทางการเงินและการเงินองค์กร หัวข้อที่ครอบคลุมได้แก่ การศึกษาเรื่องการจัดการทุน การจัดการสินทรัพย์ระยะยาว การจัดหาเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว โครงสร้างเงินทุนตลอดจนนโยบายการจ่ายเงินปันผลและต้นทุนเงินทุน

Choose 6 credits from the following courses:

วิชานี้ครอบคลุมกรอบความคิดสำหรับการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของตราสารหนี้และของการลงทุนทางเลือก กรอบความคิดในการประเมินมูลค่าที่พิจารณาถึงโครงสร้างของอัตราดอกเบี้ยตามระยะเวลาและมูลค่าของตราสารหนี้ที่มีโครงสร้างซับซ้อนและมีทางเลือกแฝงอยู่ เช่น ตราสารหนี้แบบที่ผู้ออกมีสิทธิ์ซื้อคืนได้ก่อนกำหนดและแบบที่ผู้ซื้อสามารถขายคืนได้ก่อนกำหนด หลักทรัพย์ที่ค้ำโดยหลักทรัพย์จำนองหรือโดยสินทรัพย์อื่นๆ และหุ้นกู้แปลงสภาพ นอกจากนี้ วิชานี้ยังครอบคลุมวิธีการสำหรับการประเมินมูลค่าของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบนอัตราดอกเบี้ย ของตราสารสิทธิ์บนตราสารหนี้ และของแคปและฟลอร์บนอัตราดอกเบี้ย

วิชานี้ครอบคลุมความรู้เบื้องต้นของตราสารอนุพันธ์ชนิดต่างๆ เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สและฟอร์เวิร์ด สวอป และตราสารสิทธิ์ และความรู้ทางทฤษฎีและทางปฏิบัติของการวิเคราะห์ตราสารอนุพันธ์โดยใช้คณิตศาสตร์และตัวอย่างการคำนวณเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในตราสารอนุพันธ์ นอกจากนี้ วิชานี้ยังครอบคลุมแนวคิดการบริหารความเสี่ยง แนวคิดของกลยุทธ์การซื้อขายและการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ตราสารอนุพันธ์ และการประยุกต์ใช้ตราสารอนุพันธ์ในการบริหารความเสี่ยง

วิชานี้ครอบคลุมประเภทของหลักทรัพย์ แหล่งที่มาและประเภทของข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์การลงทุน วิธีการและหลักการของการตัดสินใจในการลงทุน และหลักการพื้นฐานและวิธีการของการจัดการหลักทรัพย์และพอร์ตโฟลิโอของการลงทุนทั้งส่วนบุคคลและสถาบัน

Choose core courses from one or more areas of specialization and study 12 credits. Students can select their core courses from other areas of specialization within the school or courses from the doctoral programs of graduate schools in NIDA or other universities only with approval of the Ph.D. program committee.

(1) Management

วิชานี้ครอบคลุมหัวข้อที่สำคัญของการวิเคราะห์ทางการเงินและการลงทุน ซึ่งมีความสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่นักวิเคราะห์ทางการเงินและผู้จัดการกองทุน วิชานี้จะครอบคลุมศาสตร์หลายด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น บัญชีการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การบริหารพอร์ตโฟลิโอลงทุน และจรรยาบรรณทางการเงิน เป็นต้น วิชานี้มุ่งหวังที่จะช่วยผู้ที่เตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร Chartered Financial Analyst (CFA®) ระดับที่ 1

วิชานี้ครอบคลุมหัวข้อที่สำคัญของการวิเคราะห์ทางการเงินและความเสี่ยง ซึ่งมีความสำคัญในการทำหน้าที่นักวิเคราะห์และผู้จัดการความเสี่ยง หัวข้อในวิชานี้รวมถึง ตลาดการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การวิเคราะห์เชิงปริมาณ แบบจำลองการประเมินมูลค่า การวัดและการบริหารความเสี่ยง และการบริหารการลงทุน วิชานี้มุ่งหวังที่จะช่วยผู้ที่เตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร Financial Risk Manager (FRM®)

วิชานี้ครอบคลุมหัวข้อหลักๆที่จำเป็นสำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน ได้แก่ การวางแผนการลงทุน การวางแผนความเสี่ยงและการประกันภัย การวางแผนภาษี การวางแผนรายได้และการเกษียณ การวางแผนที่ดินและมรดกตลอดจนการวางแผนทางการศึกษา วิชานี้มุ่งหวังที่จะช่วยผู้ที่เตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร Certified Financial Planner (CFP®)

วิชานี้ครอบคลุมเครื่องมือในเชิงแนวคิดและเชิงทฤษฎีที่ใช้ในด้านวาณิชธนกิจ การวิเคราะห์งบการเงิน การประเมินมูลค่าบริษัท ธุรกิจการจัดจำหน่ายตราสารทุนและตราสารหนี้ การแปลงสินทรัพย์ การควบรวมกิจการ การใช้หนี้เพื่อซื้อกิจการ การปรับโครงสร้างองค์กร และประเด็นทางด้านกฎหมายและจริยธรรมและธรรมาภิบาลในธุรกิจวาณิชธนกิจ

วิชานี้ครอบคลุมข้อมูลทางการเงินแบบอนุกรมเวลาและคุณลักษณะของข้อมูลนั้น ราคาและผลตอบแทนของสินทรัพย์ ตลาดมีประสิทธิภาพ การทำนายได้ของผลตอบแทนของหลักทรัพย์ การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความถี่สูงและโครงสร้างจุลภาคของตลาด การวิเคราะห์ผลตอบแทนผิดปกติของหลักทรัพย์ภายใต้เหตุการณ์ต่างๆ การทดสอบแบบจำลองกำหนดราคาสินทรัพย์ และการศึกษาแบบพอร์ตโฟลิโอ

วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้คือการให้ความรู้พื้นฐานสำหรับการสร้างแบบจำลองทางการเงินที่พบบ่อยในเอ็กซ์เซล วิชานี้ครอบคลุมแบบจำลองทางการเงินแบบมาตรฐานในสาขาต่อไปนี้ แบบจำลองในการเงินองค์กร แบบจำลองของการบริหารพอร์ตโฟลิโอ แบบจำลองของการหาราคาออปชั่น แบบจำลองของการบริหารตราสารที่ให้รายได้คงที่ ในวิชานี้ ผู้เรียนจะได้รับคำอธิบายที่กระชับและชัดเจนสำหรับการสร้างแบบจำลองทางการเงินต่างๆ โดยใช้เอ็กซ์เซล

วิชานี้ครอบคลุมทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเงินและเทคนิคการสร้างแบบจำลองที่เป็นส่วนประกอบหลักของการบริหารความเสี่ยงเชิงคณิตศาสตร์ หัวข้อในวิชานี้รวมถึง แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้สำหรับการบริหารความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน หลักการที่ไม่มีอาบิทราจ แบบจำลองที่ใช้ประเมินมูลค่าแบบช่วงเวลาเดียวและแบบหลายช่วงเวลา การประเมินมูลค่าตราสารสิทธิ์ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ การประยุกต์ใช้การประเมินมูลค่าของกระแสเงินสดที่ไม่แน่นอนทั้งแบบสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ และการประยุกต์ใช้กับการบริหารความเสี่ยงที่มีความซับซ้อนและผลิตภัณฑ์การประกันภัย

วิชานี้ครอบคลุมการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงทางการเงิน หัวข้อในวิชานี้รวมถึง การวิเคราะห์เชิงปริมาณ แนวคิดการจัดการความเสี่ยงพื้นฐาน ตลาดการเงินและผลิตภัณฑ์ และการประเมินมูลค่าและแบบจำลองความเสี่ยงผ่านความเข้าใจที่ลึกซึ้งของการบริหารความเสี่ยงตลาด ความเสี่ยงเครดิต ความเสี่ยงการดำเนินงานและการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ นอกจากนี้วิชานี้ยังครอบคลุมถึงการจัดการการลงทุนตลอดจนหัวข้อเรื่องที่อยู่ในความสนใจในปัจจุบันของตลาด

(2) Marketing

วิชานี้ครอบคลุมพื้นฐานทางทฤษฎีของโครงสร้างจุลภาคของตลาด โครงสร้างตลาดแบบต่างๆ ชนิดของผู้เล่นในตลาด พฤติกรรมของนักลงทุนที่ใช้ข้อมูลข่าวสาร การนำไปสู่ราคาที่แท้จริงของหลักทรัพย์ สภาพคล่องและความผันผวน มาตรวัดต้นทุนของการซื้อขายแบบต่างๆ และหลักฐานเชิงประจักษ์ทางด้านโครงสร้างจุลภาคของตลาดทั้งในตลาดการเงินไทยและตลาดการเงินอื่นๆ

วิชานี้ครอบคลุมสภาพแวดล้อมและปัญหาในการบริหารการเงินของธุรกิจระหว่างประเทศ หัวข้อในวิชานี้รวมถึง ระบบการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงินระหว่างประเทศ แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และผู้ลงทุนระหว่างประเทศ การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน การบริหารสินทรัพย์ หนี้สิน และโครงสร้างของเงินทุน

วิชานี้ครอบคลุมวิวัฒนาการทฤษฎีทางด้านการเงินที่เน้นการตัดสินใจลงทุนภายใต้ความเสี่ยง และการพัฒนาทฤษฎีต้นทุนของเงินทุนรวมทั้งตัวแบบต่างๆ ที่ใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับธุรกิจการบริหารการเงิน

วิชานี้ครอบคลุมปัญหาด้านธุรกิจการเงิน ปัญหาการจัดการทางการเงิน การวางแผนการลงทุน แหล่งที่มาของเงินและจ่ายเงินปันผล วิชานี้จะให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคทางการเงินในการแก้ปัญหาโดยใช้กรณีศึกษา

หัวข้อในวิชานี้รวมถึง การเงินมาตรฐานกับการเงินเชิงพฤติกรรม ทฤษฎีอรรถประโยชน์ ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ อโนมาลี่ ข้อจำกัดของการทำอาบิทราจ ทฤษฎีคาดหวัง ระบบบัญชีในสมอง อคติอันเกิดจากจิตวิทยา อคติของการคิดและรับรู้ วิทยาการศึกษาสำนึก การลงทุนในหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโต และการลงทุนแบบโมเมนตัม

การศึกษาค้นคว้าอิสระ การค้นคว้าระดับสูงซึ่งครอบคลุมการวิเคราะห์อาการ ปัญหา สาเหตุและการตรวจสอบธุรกิจ รวมทั้งแผนธุรกิจที่บูรณาการปัจจัยต่างๆ ในธุรกิจเข้าด้วยกัน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

         1.1 กรณีสอบข้อเขียน

                   คุณสมบัติของผู้สมัครสอบข้อเขียนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง(Master of Science Program in Corporate Finance,Investment, and Risk Management) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                  1.1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับรอง

                   1.1.2 มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย  3 เดือน นับจนถึงวันเปิดภาคการศึกษา

                   หมายเหตุ ผู้สมัครที่สอบข้อเขียนผ่านแล้ว ไม่ต้องสมัครสอบสัมภาษณ์สามารถเข้าสอบสัมภาษณ์ได้ตามวันเวลาที่ระบุในประกาศผลการสอบข้อเขียนในครั้งที่สมัครสอบข้อเขียนเท่านั้น

          1.2 กรณีสอบสัมภาษณ์ (เกียรตินิยม/ยื่นคะแนนสอบ)

                    คุณสมบัติของผู้สมัครสอบสัมภาษณ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง(Master of Science Program in Corporate Finance,Investment, and Risk Management) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                    1.2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับรองจากสำนักงาน ก.พ. และ/หรือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ดังนี้

                        1.2.1.1 เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม หรือ

                        1.2.1.2 มีผลการสอบข้อเขียนของภาคปกติวิชาภาษาอังกฤษและวิชาเฉพาะ 1 รวมคะแนนทั้งสองวิชาไม่ต่ำกว่า 1,100 คะแนน(แต่ละวิชาต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน) โดยผลคะแนนยังไม่หมดอายุ หรือ

                        1.2.1.3 มีผลการสอบข้อเขียน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง (Master of Science Program in Corporate Finance, Investment and Risk Management) ที่มีระดับคะแนน 500 ขึ้นไป โดยผลคะแนนยังไม่หมดอายุ

                   1.2.2 มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 3 เดือน นับจนถึงวันเปิดภาคการศึกษา

 

เอกสารประกอบการสมัคร

1       ใบสมัคร คลิกเพื่อดาวโหลดใบสมัคร

2       รูปถ่าย 1 นิ้ว หน้าตรง จำนวน 2 รูป (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)

3       สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ

4       สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) 1 ฉบับ (ระบุวันสำเร็จการศึกษา) สำหรับผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี จะต้องแนบสำเนาใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ระดับ      อนุปริญญา (ปวส.) หรือเทียบเท่า มาด้วย 1 ฉบับ

5        สำเนาใบปริญญาบัตร หรือ หนังสือรับรอง (ฉบับสภาอนุมัติ) 1 ฉบับ

6        หนังสือรับรองการทำงาน

7        ใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (กรณี ชื่อ – สกุล ไม่ตรงกับหลักฐานการศึกษา)

8        หนังสือรับรองการได้ทุนสนับสนุนการศึกษาจากหน่วยงาน (ถ้ามี)

9        โครงสร้างองค์กร (Organization Structure)

10      หน้าที่ความรับผิดชอบ

11      วัตถุประสงค์ของการศึกษา (Statement of Purpose)

12     ใบรับรองผู้สมัครเป็นนักศึกษาจำนวน 2 ฉบับ ให้แนบมาพร้อมใบสมัครหรือให้ผู้รับรองส่งตรง
ไปที่ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง(Master of Science Program in Corporate Finance, Investment and Risk Management) คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เลขที่ 118 ถนนเสรี-ไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 (ใบรับรองผู้สมัครสามารถยื่นพร้อมกับการสมัคร หรือ หากไม่สามารถนำมายื่นได้ในวันสมัครให้นำมายื่นที่คณะบริหารธุรกิจอย่างช้าที่สุดในวันสอบสัมภาษณ์)

13      สำเนาใบรับรองผลการทดสอบ (กรณีเป็นผู้สมัครสอบสัมภาษณ์ที่มีผลคะแนนสอบข้อเขียนที่
         ยังไม่หมดอายุ แต่ถ้าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมไม่ต้องยื่นผลการ
         ทดสอบ)

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

14      หนังสือรับรองมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงาน    คณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยติดต่อขอได้ที่สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา           สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

15      หนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา โดยให้สถาบันการศึกษาส่งหนังสือรับรอง โดยตรงที่

Educational Service Division,

National Institute of Development Administration

148 Serithai Road, Klong Chan,

Bangkapi, Bangkok 10240, Thailand

ทั้งนี้ : เอกสารตามข้อ 14 และ 15 สถาบันอนุโลมให้ส่งได้ถึงวันเปิดภาคการศึกษา มิฉะนั้น จะถือว่าเอกสารการขึ้นทะเบียนไม่ครบถ้วน และอาจหมดสภาพการเป็นนักศึกษาของสถาบัน

การพิจารณาคัดเลือก

1.สอบข้อเขียน

     ข้อสอบข้อเขียนจำนวน 70 ข้อ (ข้อสอบแบบปรนัย) ใช้เวลาทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง

     แบ่งเป็น   1.1  ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์มีจำนวน ทั้งหมด 30 ข้อ

                    1.2  การวิเคราะห์และใช้เหตุผล 20 ข้อ

                     1.3 ภาษาอังกฤษ 20 ข้อ

2.พิจารณาจากใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร

3.สอบสัมภาษณ์

หมายเหตุ :      

  1. การคัดเลือกผู้สมัคร เข้าศึกษาต่อในหลักสูตร อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร และคณะกรรมการรับนักศึกษาของสถาบัน โดยการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการดังกล่าว ถือเป็นที่สุด
  2.  กรณีที่หลักสูตร/สาขาวิชา/สาขาวิชาเอกใดๆ คัดเลือกนักศึกษาได้ต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด สถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่เปิดสอนในหลักสูตร/สาขาวิชา/สาขาวิชาเอกนั้นๆ โดยผู้สมัครจะฟ้องร้องเอาความสถาบันฯ ไม่ได้

 

 

ค่าใช้จ่ายในการศึกษาตลอดโครงการ 216,700 บาท

  •    ค่าหน่วยกิตรายวิชาที่ดำเนินการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ หน่วยกิตละ 1,500 บาท 
  •    ค่าหน่วยกิตรายวิชาที่ดำเนินการเรียนการสอนในวันเสาร์- อาทิตย์ หน่วยกิตละ 6,700 บาท 
  •     ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบคัดเลือก 1,200 บาท
  •     ค่าสมัครสอบประมวลความรู้ด้วยข้อเขียน 500 บาท
  •     ค่ากิจกรรมพิเศษตลอดหลักสูตร 20,000 บาท
  •     สำหรับค่าธรรมเนียมอื่นๆให้เป็นไปตามประกาศสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เรื่องอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาหลักสูตรชั้นปริญญาโทโดยนักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาตามประกาศสถาบันฉบับที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันภายในระยะเวลาที่กำหนด
กำหนดการ รอบ 1

สมัครสอบข้อเขียน
คลิกเพื่อดาวโหลดใบสมัคร

ปิดรับสมัคร

สมัครออนไลน์ที่
คลิก http://entrance.nida.ac.th

ปิดรับสมัคร

สมัครสอบสัมภาษณ์
คลิกเพื่อดาวโหลดใบสมัคร

ปิดรับสมัคร

ประกาศรายชื่อและสถานที่สอบข้อเขียน

ประกาศภายหลัง

วันสอบข้อเขียน

ประกาศภายหลัง

ประกาศผลสอบข้อเขียน

ประกาศภายหลัง

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์

ประกาศภายหลัง

วันสอบสัมภาษณ์

ประกาศภายหลัง

ประกาศผลคัดเลือก

ประกาศภายหลัง

รับเอกสารขึ้นทะเบียนและลงทะเบียน

ประกาศภายหลัง

ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา

ประกาศภายหลัง

เรียน Intensive Course

ประกาศภายหลัง

ปฐมนิเทศ

ประกาศภายหลัง

เปิดภาคเรียน

ประกาศภายหลัง

ค่าสมัครสอบ

1,200 บาท

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

167,600 บาท

ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตร

1 ปี 6 เดือน

วัน เวลาเรียน

- จันทร์ - ศุกร์
- เสาร์ - อาทิตย์

ภาษาที่ใช้เรียน

ภาษาไทย


คลิกเพื่อดูประกาศรับสมัคร

คลิกดูประกาศรับสมัคร 

ดาวน์โหลดใบสมัคร

ดูทั้งหมด

เอกสารเผยแพร่

ดูทั้งหมด

ภาพกิจกรรม

ดูทั้งหมด