หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (โครงการ Flexible MF)
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าศึกษามีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น MF เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่สนใจ ซึ่งสะดวกมาเรียนทั้งในวัน-เวลาราชการ และวันเสาร์ อาทิตย์ โดยที่นักศึกษาจะสามารถเรียนบางวิชาในวัน-เวลาราชการ และบางวิชาเรียนในวันเสาร์-อาทิตย์
What: เป็นหลักสูตรทางการเงินมหาบัณฑิตภาษาไทย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุณภาพการศึกษา จากคณะบริหารธุรกิจ นิด้า ที่ได้รับการรับรองมาตราฐานจากองค์กรระดับนานาชาติ AACSB (The Association to Advance Collegiate Schools of Business) มีปรัชญา “มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีทางการเงิน และสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกอปรด้วยจรรยาบรรณทางวิชาการ จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ รวมทั้งมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวคิดการเงินเพื่อความยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของสังคมและประเทศชาติ”
Why : เหมาะสำหรับผู้ที่มองการณ์ไกลและไฝ่สำเร็จทางอาชีพด้านการเงิน ที่ขยายโอกาสสร้างรายได้ ด้วยการเติมเต็มศักยภาพและเพิ่มทางเลือกใหม่ๆ สู่การเป็นนักบริหารการเงินมืออาชีพ อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
When :เหมาะสำหรับผู้ที่สะดวกเรียนในวัน - เวลาราชการ และเสาร์ อาทิตย์ เพื่อการศึกษาเพิ่มพูนความรู้ระดับปริญญาโท
How : สามารถเลือกเรียนเฉพาะทางตามความสนใจเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญและนำไปใช้ในการการทำงานหรือเพื่อเตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพทางการเงินต่างๆ CFA, FRM, CFP
โครงการ Flexible MF (เรียนในเวลาราชการ และ เสาร์ อาทิตย์)
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน
คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน โครงการ Flexible MF
Master of Science Program in Finance (Flexible MF)
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
วิชานี้เพื่อพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และ ให้สอดคล้องกับทักษะและองค์ความรู้ที่สถาบันให้ความสำคัญ ซึ่งเป็นทักษะเฉพาะ จำนวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านดิจิทัล 2) ด้านการเป็นพลเมืองโลก 3) ด้านการพัฒนาภาวะความเป็น และ 4) ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน
วิชานี้สร้างเสริมทักษะการอ่านบทความจากหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งประกอบด้วยทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญและสนับสนุน การตีความประโยค การเข้าใจจุดประสงค์และน้ำเสียงของผู้เขียน การอ่านแบบข้ามเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ การตีความคำพูดอ้างอิงและข้อมูลจากรูปภาพ การหาความสัมพันธ์ของประโยค การเดาความหมายของคำศัพท์และสำนวนจากบริบท โดยในการพัฒนาทักษะเหล่านี้ นักศึกษาจะมีโอกาสในการทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนคำศัพท์ การคิดเชิงวิพากษ์และการทำงานร่วมกันควบคู่กันไปทุกครั้ง
วิชานี้เน้นการฝึกทักษะและกลยุทธการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพิ่มเติมและซ่อมเสริมทักษะดังกล่าวสำหรับนักศึกษาที่ยังบกพร่องในการเรียนวิชา ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนในลักษณะเฉพาะบุคคลมากขึ้น
วิชานี้มีเนื้อหาและกิจกรรมเน้นที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเชิงวิชาการเบื้องต้น
วิชานี้เน้นการฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพิ่มเติมและซ่อมเสริมทักษะดังกล่าวสำหรับนักศึกษาที่ยังบกพร่องในการเรียนวิชา ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้วยการสอนและฝึกในลักษณะเฉพาะบุคคล
แนวทางการตัดสินใจทางการเงินบนพื้นฐานของข้อมูลจากงบการเงิน การเตรียมงบการเงิน การตีความงบการเงินเพื่อใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานและความเสี่ยงของกิจการและเพื่อใช้ในการประเมินมูลค่าของกิจการ
ทฤษฎีพื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์รวมทั้งการประยุกต์ใช้เศรษฐศาสตร์ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ทางการลงทุนและการเงินองค์กร แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทาน ทฤษฎีการผลิตและต้นทุน โครงสร้างตลาดและเศรษฐศาสตร์ของข้อมูลข่าวสาร การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน บัญชีรายได้ประชาชาติ การจ้างงาน เงินเฟ้อ ฐานเงินและอัตราดอกเบี้ย การวิเคราะห์อุปสงค์รวมและอุปทานรวม นโยบายการคลังและนโยบายการเงิน แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการอธิบายเหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในตลาดการเงิน
ระบบการเงินและตลาดการเงิน ประเภทของสินทรัพย์และตราสารทางการเงิน ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารทุน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดการเงินต่างประเทศ การซื้อขายหลักทรัพย์ สถาบันทาง การเงินต่าง ๆ
จรรยาบรรณในการทำธุรกิจ บรรษัทภิบาล จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพจากสถาบัน CFA สำหรับผู้ที่ทำอาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน พื้นฐานของความน่าจะเป็นทางสถิติและการกระจายตัวของข้อมูล การสุ่มตัวอย่าง การทดสอบสมมติฐานหนึ่งตัวอย่างและช่วงความเชื่อมั่น สมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและแบบหลายตัวแปร การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน การประยุกต์ใช้ไคสแควร์
เทคนิคทางสถิติและคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาด้านการเงิน ข้อมูลอนุกรมเวลาเมื่อเทียบกับข้อมูลแบบตัดขวาง ข้อมูลแบบตัดขวางเมื่อเทียบกับข้อมูลแบบพาเนล การสร้างแบบจำลองและการพยากรณ์อนุกรมเวลาตัวแปรเดียว ซอฟต์แวร์ทางด้านเศรษฐมิติในการประมาณค่าแบบจำลอง การตีความผลของการประมาณค่า
กรอบความคิดสำหรับการเงินองค์กร แนวคิดเรื่องการเงินเพื่อความยั่งยืน มูลค่าของเงินตามเวลา การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ความเสี่ยงและผลตอบแทน การพยากรณ์ทางการเงิน การประมาณราคาตราสารทุนและตราสารหนี้ การจัดทำงบประมาณเงินทุน การประมาณค่าต้นทุนเงินทุน โครงสร้างเงินทุน นโยบายการจ่ายปันผล การบริหารเงินทุนหมุนเวียน
มุมมองในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติของการประเมินมูลค่าของตราสารทุน การวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค การวิเคราะห์อุตสาหกรรม แบบจำลองต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินมูลค่าตราสารทุน การบริหารพอร์ตโฟลิโอหุ้น การสร้างพอร์ตโฟลิโอที่ได้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่คุ้มค่าที่สุด การลงทุนอย่างยั่งยืน
การประเมินมูลค่าของตราสารหนี้และการประยุกต์ใช้ตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน รวมทั้งตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงบนตราสารหนี้ การวิเคราะห์ตราสารหนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้แบบไร้ความเสี่ยง ความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารหนี้ การบริหารความเสี่ยงของราคาตราสารหนี้ที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไป การบริหารพอร์ตโฟลิโอตราสารหนี้
มุมมองทางทฤษฎีและทางปฏิบัติของตราสารอนุพันธ์ ตราสารอนุพันธ์ชนิดต่าง ๆ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สและฟอร์เวิร์ด สวอป ตราสารสิทธิ์ แนวคิดของกลยุทธ์การซื้อขายและการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ตราสารอนุพันธ์ บทบาทของตราสารอนุพันธ์ในการบริหารความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ
มุมมองในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติต่อการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก การวิเคราะห์สินทรัพย์ทางเลือกประเภทต่าง ๆ บทบาทของสินทรัพย์ทางเลือกที่มีต่อพอร์ตโฟลิโอการลงทุนแบบดั้งเดิม กองทุนป้องกันความเสี่ยง ธุรกิจเงินร่วมลงทุน หุ้นนอกตลาด อสังหาริมทรัพย์และของสะสม
ทฤษฎีพอร์ตโฟลิโอสมัยใหม่ ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพและนัยยะของทฤษฎี แบบจำลองการตั้งราคาสินทรัพย์เสี่ยง แบบจำลองการกำหนดราคาแบบอาบิทราจ และแบบจำลองแบบการตั้งราคาสินทรัพย์เสี่ยงแบบหลายปัจจัย
พื้นฐานที่สำคัญของการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล การสื่อสารกับลูกค้า ความเข้าใจในอคติทางจิตวิทยาที่มีต่อการตัดสินใจทางการเงินของลูกค้า การวางแผนการลงทุน การวางแผนการประกัน การวางแผนภาษี การวางแผนมรดก การวางแผนเพื่อการเกษียณ
แนวคิดและกระบวนการการบริหารพอร์ตโฟลิโอการลงทุนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินของนักลงทุนสถาบัน การเก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้า การเขียนนโยบายการลงทุน การจัดสรรเงินลงทุนของพอร์ตโฟลิโอไปในสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับลูกค้า การซื้อหลักทรัพย์ที่ต้องการตามที่จัดสรรไว้การประเมินผลการดำเนินงานของพอร์ตโฟลิโอการลงทุน
แนวคิดพื้นฐานของการเงินเชิงพฤติกรรม ทฤษฎีอรรถประโยชน์ ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ อโนมาลี่ ข้อจำกัดของการทำอาบิทราจ ทฤษฎีความคาดหวัง ระบบบัญชีในสมอง อคติอันเกิดจากจิตวิทยา การลงทุนในหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโต การลงทุนแบบโมเมนตัม
พื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน แบบจำลองการประเมินราคาและความเสี่ยงของตราสารทางการเงินประเภทต่าง ๆ การวัดและการบริหารความเสี่ยงอันเกิดจากราคาสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปสำหรับสถาบันการเงินต่าง ๆ
พื้นฐานของการวัดและการบริหารความเสี่ยงทางด้านเครดิต ตราสารอนุพันธ์ทางด้านเครดิต การสร้างแบบจำลองความเสี่ยงทางด้านเครดิต การจัดทำคะแนนความเสี่ยงทางด้านเครดิต การบริหารความเสี่ยงทางด้านเครดิตสำหรับสถาบันการเงินต่าง ๆ
ประเด็นความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเป็นธรรมในสังคมที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการเงิน บทบาทของการเงินที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเงินเพื่อความยั่งยืนและการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกการกำหนดราคาคาร์บอน ตราสารทางการเงินเพื่อความยั่งยืนและการกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่กิจกรรมในภาคเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน ผลของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลที่มีต่อการตัดสินใจทางการเงิน
แนวความคิดในการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการธุรกิจต่าง ๆ การกำหนดรูปแบบธุรกิจและความเป็นไปได้ของตลาด ความเป็นไปได้ทางด้านการดำเนินงานของธุรกิจ ความเป็นไปได้ทางด้านกำลังคน ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการธุรกิจ การทำและนำเสนอการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการธุรกิจ
เทคโนโลยีทางการเงินและบทบาทที่มีต่อการปรับปรุงการให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิมให้รวดเร็วขึ้น การเงินแบบไร้ตัวกลาง สินทรัพย์ดิจิทัลและคริปโตเคอร์เรนซี เทคโนโลยีบล็อกเชน
การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินด้วยการเขียนโปรแกรมภาษา Python และ R เพื่อการตัดสินใจทางการเงินที่อยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน การประยุกต์ใช้ของการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน กลยุทธ์การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณอย่างการซื้อขายความถี่สูง การสร้างแบบจำลองความเสี่ยง การให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้การทำงานด้วยตนเอง ปัญญาประดิษฐ์ การทำเหมืองข้อมูล
พื้นฐานทางทฤษฎีของโครงสร้างจุลภาคของตลาด โครงสร้างตลาดแบบต่าง ๆ ชนิดของผู้เล่นในตลาด พฤติกรรมของนักลงทุนที่ใช้ข้อมูลข่าวสาร การนำไปสู่ราคาที่แท้จริงของหลักทรัพย์ สภาพคล่องและความผันผวน มาตรวัดต้นทุนของการซื้อขายแบบต่าง ๆ หลักฐานเชิงประจักษ์ทางด้านโครงสร้างจุลภาคของตลาด ทั้งในตลาดการเงินไทยและตลาดการเงินประเทศอื่น ๆ
ความรู้พื้นฐานสำหรับการสร้างแบบจำลองทางการเงินต่าง ๆ ในเอ็กซ์เซล แบบจำลองทางการเงินแบบมาตรฐานในการเงินองค์กร แบบจำลองของการบริหารพอร์ตโฟลิโอ แบบจำลองของการหาราคาออปชัน แบบจำลองของการบริหารตราสารที่ให้รายได้คงที่
ทฤษฎีทางด้านการเงินองค์กรและการประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจด้านการเงินขององค์กรอย่างเหมาะสม ต้นทุนเงินทุนและการจัดงบประมาณเงินทุน ทฤษฎีชั้นสูงทางด้านโครงสร้างเงินทุนและทางด้านนโยบายการจ่ายปันผล ตราสารทางการเงินขององค์กรที่ซับซ้อน การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทางเลือกแฝงของโครงการ การนำบริษัทเสนอขายสู่สาธารณชน การปรับโครงสร้างองค์กร การประเมินมูลค่าของการควบรวมกิจการ การประเมินมูลค่าของการซื้อกิจการ บรรษัทภิบาล การเข้าควบคุมกิจการ
ธุรกิจของวาณิชธนกิจ การประเมินมูลค่าบริษัท ธุรกิจการจัดจำหน่ายตราสารทุนและตราสารหนี้ การแปลงสินทรัพย์ การควบรวมกิจการ การใช้หนี้เพื่อซื้อกิจการ การปรับโครงสร้างองค์กร ประเด็นทางด้านกฎหมาย จริยธรรมและธรรมาภิบาลในธุรกิจวาณิชธนกิจ
สภาพแวดล้อมทางการเงินระหว่างประเทศและปัญหาในการบริหารการเงินระหว่างประเทศ ระบบการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงินระหว่างประเทศ แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และนักลงทุนระหว่างประเทศ การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับธุรกิจ การบริหารสินทรัพย์ หนี้สิน และโครงสร้างของเงินทุน
กระบวนการและวิธีการทำงานวิจัยทางการเงิน การออกแบบงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรมและพัฒนาสมมติฐานงานวิจัย การเลือกวิธีการทำวิจัยที่เหมาะสม ทักษะทางการเขียนโปรแกรมเพื่อทำงานวิจัยทางการเงิน
หัวข้อที่สำคัญของการวิเคราะห์ทางการเงินและการลงทุนต่อการปฏิบัติหน้าที่นักวิเคราะห์ทางการเงินและผู้จัดการกองทุน จรรยาบรรณทางการเงิน บัญชีการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การบริหารพอร์ตโฟลิโอลงทุน เตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร Chartered Financial Analyst(CFA®) ระดับที่ 1
หัวข้อที่สำคัญของการวิเคราะห์ทางการเงินและความเสี่ยงในการทำหน้าที่นักวิเคราะห์และผู้จัดการความเสี่ยง ตลาดการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การวิเคราะห์เชิงปริมาณ แบบจำลองการประเมินมูลค่า การวัดและการบริหารความเสี่ยง การบริหารการลงทุน เตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร Financial Risk Manager (FRM®)
หัวข้อหลักสำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน การวางแผนการลงทุน การวางแผนความเสี่ยงและการประกันภัย การวางแผนภาษี การวางแผนรายได้และการเกษียณ การวางแผนที่ดินและมรดก การวางแผนทางการศึกษา เตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร Certified Financial Planner (CFP®)
การศึกษาในหัวข้อพิเศษและทันสมัยทางการเงิน ซึ่งคณะจะกำหนดให้เรียนตามความเหมาะสม โดยหัวข้อเรื่องจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนเปิดภาคการศึกษา บุพวิชา: ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของผู้สอน
ศึกษา ค้นคว้าและวิจัยในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งทางการเงินโดยทำการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผลการวิจัย และอภิปรายผล
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1.1 กรณีสอบข้อเขียน
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบข้อเขียนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (โครงการ Flexible MF) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
1.1.2 มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 3 เดือน นับจนถึงวันเปิดภาคการศึกษา
หมายเหตุ ผู้สมัครที่สอบข้อเขียนผ่านแล้ว ไม่ต้องสมัครสอบสัมภาษณ์สามารถเข้าสอบสัมภาษณ์ได้ตามวันเวลาที่ระบุในประกาศผลการสอบข้อเขียนในครั้งที่สมัครสอบข้อเขียนเท่านั้น
1.2 กรณีสอบสัมภาษณ์ (เกียรตินิยม/ยื่นคะแนนสอบ)
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบสัมภาษณ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (โครงการ Flexible MF) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับรองจากสำนักงาน ก.พ. และ/หรือ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ดังนี้
1.2.1.1 เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม หรือ
1.2.1.2 มีผลการสอบข้อเขียน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (โครงการ Flexible MF) ที่มีระดับคะแนน 500 ขึ้นไป โดยผลคะแนนยังไม่หมดอายุ
1.2.2 มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 3 เดือน นับจนถึงวันเปิดภาคการศึกษา
เอกสารประกอบการสมัคร
สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ดาวน์โหลด >>
การพิจารณาคัดเลือก
1.สอบข้อเขียน
ข้อสอบข้อเขียนจำนวน 70 ข้อ (ข้อสอบแบบปรนัย) ใช้เวลาทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง
แบ่งเป็น 1.1 ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์มีจำนวน ทั้งหมด 30 ข้อ
1.2 การวิเคราะห์และใช้เหตุผล 20 ข้อ
1.3 ภาษาอังกฤษ 20 ข้อ
2.พิจารณาจากใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร
3.สอบสัมภาษณ์
หมายเหตุ :
**หมายเหตุ: สถาบันสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนกำหนดการรับนักศึกษา/อัตราคาธรรมเนียมการศึกษา และหลักสูตรที่จะทำการเปดสอน โดยมิตองแจงใหทราบลวงหนา ทั้งนี้ ใหเปนไปตามประกาศของสถาบัน
กำหนดการ | รอบ 1 |
สมัครสอบข้อเขียน |
จะเปิดรับสมัครเร็ว ๆ นี้ |
สมัครออนไลน์ที่ |
จะเปิดรับสมัครเร็ว ๆ นี้ |
สมัครสอบสัมภาษณ์ |
จะเปิดรับสมัครเร็ว ๆ นี้ |
ประกาศรายชื่อและสถานที่สอบข้อเขียน |
ประกาศภายหลัง |
วันสอบข้อเขียน |
ประกาศภายหลัง |
ประกาศผลสอบข้อเขียน |
ประกาศภายหลัง |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ |
ประกาศภายหลัง |
วันสอบสัมภาษณ์ |
ประกาศภายหลัง |
ประกาศผลคัดเลือก |
ประกาศภายหลัง |
รับเอกสารขึ้นทะเบียนและลงทะเบียน |
ประกาศภายหลัง |
ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา |
ประกาศภายหลัง |
เรียน Intensive Course |
ประกาศภายหลัง |
ปฐมนิเทศ |
ประกาศภายหลัง |
เปิดภาคเรียน |
ประกาศภายหลัง |
ค่าสมัครสอบ |
1,200 บาท |
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร |
167,600 บาท |
ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตร |
1 ปี 6 เดือน |
วัน เวลาเรียน |
- จันทร์ - ศุกร์ |
ภาษาที่ใช้เรียน |
ภาษาไทย |
คลิกเพื่อดูประกาศรับสมัคร