หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจ ทางด้านบริหารธุรกิจมุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้วยการสร้างผู้นำธุรกิจและนักบริหารที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในระดับสากล ตลอดจนเพื่อเป็นการรองรับและมุ่งพัฒนาคนและการศึกษาให้ก้าวสู่กลุ่มประเทศ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community หรือ AEC) ดังนั้นคณะบริหารธุรกิจจึงเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ที่จะเปิดโครงการใหม่ๆ ในหลักสูตร MBA จึงจัดตั้งโครงการปริญญาโททางบริหารธุรกิจ สำหรับผู้เชี่ยวชาญ/มืออาชีพ (Professional MBA Program)
ทำไมต้อง Professional MBA Program
แนะนำโครงการโดย
นักศึกษา Professional MBA
ฟังผู้เรียนเล่า 'เหตุผลที่เลือก Pro-MBA NIDA'
**หมายเหตุ: การเปิดวิชาเลือกเสรีขึ้นอยู่กับทางโครงการของคณะบริหารธุรกิจเป็นผู้พิจารณา ขอสงวนสิทธิ์ในการเปิดวิชาเลือกเสรี โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทางคณะบริหารธุรกิจ
ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ และเรียนรู้ หลักการจัดการจากอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อสังเคราะห์การจัดการธุรกิจในอนาคตที่นำไปสู่ความรุ่งเรืองทั้งในมิติของเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการเติบโตแบบองค์รวม เน้นการคิดเชิงสร้างสรรค์ที่ท้าทายกรอบแนวคิดเดิมด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตที่ดีกว่าเดิม โดยให้ความสำคัญกับการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ด้วยการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ทั้งในระดับบุคคล องค์การ และระดับประเทศ
แนวคิดสำคัญในการจัดทำงบการเงิน การรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรอง ทั่วไป การวิเคราะห์งบการเงินขององค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการ ตัดสินใจทางธุรกิจ
ศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค และมหภาค โดยให้สามารถนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคมา ช่วยในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อนำมาประกอบใช้กับทฤษฎี เศรษศาสตร์จุลภาคในการตัดสินใจ และการวางแผนธุรกิจรวมทั้งศึกษาวิเคราะห์กรณีตัวอย่าง จากกรณีศึกษาต่างๆทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ
การศึกษาจะเกี่ยวข้องกับการจัดการและการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจและการดำเนินกลยุทธ์ในทางธุรกิจ หัวข้อที่ศึกษาจะรวมถึงการศึกษาและการใช้เครื่องมือและวิธีการจากทฤษฎีทางความน่าจะเป็นและทฤษฎีทางสถิติ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ การจัดแสดงข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ ตัวอย่างของเครื่องมือ เช่นการแจกแจงความถี่ ความน่าจะเป็น การกระจายของการสุ่มตัวอย่างช่วงความเชื่อมั่น การทดสอบสมมติฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแบบถดถอยแบบพื้นฐานและแบบหลายตัวแปร การวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา การจำลองสถานการณ์ การวิเคราะห์การตัดสินใจ และเครื่องมือหรือหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลสมัยใหม่
วิชานี้ศึกษาพื้นฐานและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ให้ในการวางแผนกลยุทธ์และการพบริหารการพัฒนา ระบบสารสนเทศและการนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มผลิตผลและประสิทธิภาพของ องค์การ
ประเด็นทางกฎหมายที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในสภาวการณ์ปัจจุบัน เช่น การทำสัญญาและนิติกรรมกฎหมายเกี่ยวกับนิติบุคคล การจ้างงาน และแรงงาน การเงินและ หลักทรัพย์ เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยนหรือเช่า การทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และ เงื่อนไขด้านการเงิน การดำเนินธุรกิจซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสังคม และสภาวะแวดล้อมทาง กฎหมายที่จะติดตามมา ความขัดแย้งระหว่างวัตถุประสงค์ทางธุรกิจสิทธิตามกฎหมาย และ จริยธรรมของผู้บริหาร
วิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการเสริมสร้างและธำรงรักษาหลักการบริหารที่ดีและการประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพ การจัดจำหน่าย และการดูแลลูกค้า รวมถึงการอภิปรายกรณีศึกษาและตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
ในโลกปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับภาวะการณ์ท้าทายทำให้ทรัพยากรมนุษย์ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยเพื่อความอยู่รอดขององค์กร จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าทันสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพัฒนาทักษะขีดความสามารถในการทำงานในบริบทที่หลากหลายและการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ฯลฯ สาระหลักของวิชาจึงเน้นการเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีฐานความคิดในศาสตร์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ และการจัดการเชิงธุรกิจ นอกจากความรู้ที่แน่นหนักในหลักการแล้ว ผู้เรียนยังจะได้รับรู้ประสบการณ์แนวปฏิบัติจริงที่คัดสรรมาจากองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและสามารถยกระดับสู่การเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพชีวิต และความพึงพอใจในการทำงานควบคู่ไปกับการมีความสามารถในการสร้างผลิตภาพและผลกำไรให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน
ปรัชญา และแนวความคิดทางด้านการตลาด การวางแผนการตลาด การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อการเติบโตของธุรกิจ การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด ประเมินความน่าสนใจของตลาด การกำหนดโปรแกรมการตลาด และการควบคุมการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ การคำนวณต้นทุนของสินค้าและบริการ บทบาทของต้นทุนต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์ต้นทุน ความสัมพันธ์ของต้นทุนปริมาณและกำไร การวางแผนและควบคุม ระบบงบประมาณ การวัดผลและการประเมินผลการดำเนินงาน การบัญชีตามความรับผิดชอบ การบริหารโดยใช้หลักดุลยภาพ การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
การพัฒนากรอบแนวความคิดในการวิเคราะห์และการบริหารการเงิน การบริหารเงินทุน และทรัพย์สินระยะยาวของบริษัท การจัดหาเงินทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โครงสร้างเงินทุน รวมถึงนโยบายการปันผลและต้นทุนของเงินทุน
หลักการพื้นฐาน แนวคิด เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบ วิเคราะห์ และการปรับปรุงขีดความสามารถในการปฏิบัติการขององค์กรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมและธุรกิจ การวิเคราะห์และการปรับปรุงกระบวนการทางด้าน การปฏิบัติการขององค์กรเพื่อเพิ่มผลิตภาพ คุณภาพ และคุณค่าให้กับลูกค้า
สาขาการตลาด
ลักษณะสำคัญของตลาดอุตสาหกรรม พฤติกรรมการบริโภคของอุตสาหกรรม การวางแผนการตลาดของอุตสาหกรรม และการประเมินผลการตลาดอุตสาหกรรม
พฤติกรรมผู้บริโภค เน้นการใช้วิชาพฤติกรรมศาสตร์แขนงต่างๆได้แก่ มานุษยวิทยา จิตวิทยาสังคม และสังคมวิทยาเพื่ออธิบายกระบวนการตัดสินใจและปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค
ความสำคัญของธุรกิจค้าปลีกในช่องทางการจัดจำหน่าย การแสวงหาโอกาสในธุรกิจค้าปลีก รูปแบบองค์การค้าปลีกที่ทันสมัย เทคโนโลยีใหม่ในการค้าปลีก และอำนาจการต่อรองของ ร้านค้าปลีก การวางแผน การบริหาร และการควบคุมธุรกิจค้าปลีก ความสัมพันธ์ของธุรกิจ ร้านค้าปลีกกับคู่ค้าอื่นๆในห่วงโซ่อุปทาน
ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดจากการศึกษาโอกาสและความเป็นไปได้ การสร้างแนวความคิดผลิตภัณฑ์และบริการใหม่การวิเคราะห์ลักษณะผลิตภัณฑ์ และการ ประเมินผลแนวความคิด การประมาณการยอดขาย และการวิเคราะห์การเงิน ขั้นตอนการ ออกแบบและพัฒนา การทดลองการใช้จริงและการทดสอบตลาด รวมทั้งขั้นตอนการ วางตลาด
แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย รวมถึงการกำหนดปัญหา คำถามในการวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำเสนอผลการวิจัยเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา และตัดสินใจทางการตลาดให้ได้สัมฤทธิ์ผล
แผนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ บทบาทของการสื่อสารการตลาดในการวางแผน การตลาด วัตถุประสงค์ทางการตลาดและวัตถุประสงค์ทางการสื่อสาร การวางงบประมาณ ลักษณะสำคัญของเครื่องมือสื่อสารการตลาดประเภทต่างๆ การโฆษณา การตลาดโดยไม่ผ่านคน กลาง การประชาสัมพันธ์และการให้ข่าว การส่งเสริมการขาย และการใช้พนักงานขาย การ ประเมินผลแผนสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
ลักษณะของธุรกิจบริการการเปรียบเทียบการตลาดการบริการกับการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมผู้บริโภคในการบริการ ปัจจัยในการประเมินคุณภาพการบริการ การประยุกต์กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับการบริการ
หัวข้อและกรณีศึกษาต่างๆทางการตลาด เช่น การวิจัยตลาด การตลาดสำหรับอุตสาหกรรม พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดระหว่างประเทศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การสื่อสารการตลาด การตลาดบริการ ฯลฯ
ลักษณะและบทบาทของโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในการสื่อสารการตลาด กลยุทธ์ของการ เลือกใช้โฆษณาและประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ทางการตลาด และวัตถุประสงค์ทางการสื่อสาร ผู้รับสารเป้าหมาย งบประมาณ และระยะเวลาของแคมเปญ การบูรณาการแผนโฆษณาและการประชาสัมพันธ์กับเครื่องมือสื่อสารการตลาดอื่นๆ ปัญหาใน การปฏิบัติจริงและการประเมินกิจกรรมโฆษณาและประชาสัมพันธ์
เครื่องมือสื่อสารการตลาดที่มีการสื่อสารสองทาง เช่น การตลาดโดยไม่ผ่านคนกลาง การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ การขายผ่านบุคคล บทบาทของเครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ในแผนการตลาด กลยุทธ์ของการส่งเสริมการขาย ทั้งการส่งเสริมการขายที่เน้นไปยังลูกค้าและการส่งเสริมการขายที่เน้นไปยังผู้ค้า การบูรณาการเครื่องมือสื่อสารการตลาดเหล่านี้กับเครื่องมือสื่อสารการตลาดชนิดอื่นๆ
วิชานี้ให้ความรู้เกี่ยวกับประสาทวิทยาที่เกี่ยวกับความคิดของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อและเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการวัดการทำงานของสมอง วิชานี้ยังทำให้นักศึกษาเห็นภาพรวมของการนำความรู้ประสาทวิทยาศาสตร์มาใช้ทางการตลาดทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มอนาคต นอกจากนั้น นักศึกษาจะนำความรู้ทางด้านประสาทวิทยาที่เกี่ยวกับผู้บริโภคนี้ไปประสานกับศาสตร์ด้านต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาการตลาดในสถานการณ์จริง โดยจะใช้เครื่องมือที่เกี่ยวเนื่องกับประสาทวิทยาในการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการแก้ปัญหานี้
แนวทางกลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจบริการทางการเงินประเภทต่างๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกันภัย การประยุกต์ส่วนประสมทางการตลาดกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน เช่น การปล่อยสินเชื่อ การรับฝาก วาณิชธนกิจ การค้าหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ผลตอบแทนคงที่ ตราสารอนุพันธ์ ฯลฯ การตลาดสำหรับนวัตกรรมการบริการทางการเงิน
การวิเคราะห์แนวความคิด ประเด็น และวิธีการทำการตลาดของสินค้าในต่างประเทศ โดยเน้นที่โอกาสและอุปสรรคของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างประเทศ กลยุทธ์การตลาดระหว่างประเทศ และเทคนิคการจัดการตลาดระหว่างประเทศ
การวางแผน กลยุทธ์การสร้างและบริหารแบรนด์ ด้วยการสร้างคุณค่าของแบรนด์ การออกแบบ องค์ประกอบของแบรนด์และกิจกรรมทางการตลาดของแบรนด์ การวางระบบและวิธีการวัด ประเมินคุณค่าของแบรนด์ รวมถึงการพัฒนาเสริมสร้างและรักษาคุณค่าของแบรนด์ในระยะยาว
ระบบขนส่ง การจัดการคลังสินค้า การจัดหาและส่งวัสดุ การพัฒนาระบบการขนส่งกําลังบำรุงอย่างบูรณาการซึ่งครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบไปจนถึงการเคลื่อนย้ายสินค้าสำเร็จรูปสู่ผู้บริโภค การวางแผนและการควบคุมระบบดังกล่าว
รายวิชานี้ครอบคลุมเนื้อหาของการทำการพาณิชย์แบบดิจิทัล โดยเน้นกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคสนใจและเลือกซื้อสินค้าของผู้ขาย เนื้อหารวมไปถึงกรอบทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัล รวมไปถึงการนำกรอบแนวคิดมาใช้ในธุรกิจจริง รวมไปถึงการคำนวณหาผลตอบแทนจากการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบต่าง ๆ ผ่านมาตรวัดทางการเงินและการตลาดที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
การนำทฤษฎีทางการตลาดมาประยุกต์ในการแก้ปัญหา วางแผน วางนโยบาย วางแผนกลยุทธ์ และการตัดสินใจทางการตลาด โดยเน้นการใช้กรณีศึกษาเป็นหลัก
การศึกษาเชิงลึกเป็นรายบุคคลในหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาของตนเป็นการศึกษาตามแนวแนะโดยอนุมัติของคณบดี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของคณะ
สาขาการเงิน
แนวทางกลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจบริการทางการเงินประเภทต่างๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกันภัย การประยุกต์ส่วนประสมทางการตลาดกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน เช่น การปล่อยสินเชื่อ การรับฝาก วาณิชธนกิจ การค้าหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ผลตอบแทนคงที่ ตราสารอนุพันธ์ ฯลฯ การตลาดสำหรับนวัตกรรมการบริการทางการเงิน
กรอบการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ชนิดผลตอบแทนคงที่อย่างเหมาะสม กรอบในการประเมินมูลค่าจะนำมาใช้ในเรื่องของโครงสร้างดอกเบี้ย และมูลค่าของสินทรัพย์แบบมีผลตอบแทนคงที่ในโครงสร้างที่ซับซ้อน และมีตราสารอนุพันธ์แฝงอยู่ รวมถึงพันธบัตรชนิดที่สามารถเรียกซื้อคืนก่อนถึงกำหนด (callable bonds) และชนิดที่มีสิทธิในการขายตามเวลา และราคาที่ได้ตกลงไว้ (puttable bonds), หลักทรัพย์ที่ใช้อสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน (mortgage-backed securities), หลักทรัพย์ที่ใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน (asset-backed securities) และพันธบัตรแปลงสภาพ (convertible bonds) การประเมินมูลค่าของตราสารอนุพันธ์ที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
ความรู้ในเชิงวิเคราะห์ทั้งในด้านทฤษฎี และด้านกลไกการทำงานของตราสารอนุพันธ์ โดยใช้ตัวอย่างทั้งเชิงคณิตศาสตร์ และเชิงตัวเลขเพื่อพัฒนาความเข้าใจในเรื่องราวของตราสารอนุพันธ์ ทางการเงินให้มากยิ่งขึ้น หลักการพื้นฐานของตราสารอนุพันธ์ทางการเงินประเภทต่าง ๆ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ (futures) และฟอร์เวิร์ด (forward), สัญญาสวอป (swaps), และสิทธิในการซื้อ หรือขายหุ้นสามัญ (options) แนวคิดในเรื่องกลยุทธ์การซื้อขาย และการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ตราสารอนุพันธ์
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเงินและวิธีการสร้างตัวแบบอันเป็นองค์ประกอบที่สมบูรณ์แบบสำหรับการบริหารความเสี่ยงด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ ตัวแบบทางคณิตศาสตร์สำหรับการบริหารความเสี่ยงภัย ตราสารอนุพันธ์ หลักการปลอดกำไร ตัวแบบการประเมินมูลค่าสำหรับหนึ่งและมากกว่าหนึ่งระยะเวลา การประเมินมูลค่าตราสารอนุพันธ์ การประยุกต์ใช้การประเมินมูลค่ากระแสเงินสดที่มีความไม่แน่นอน ตัวแบบที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์และการประยุกต์ใช้กับการบริหารความเสี่ยงที่มีความซับซ้อนและสินค้าทางประกันภัย
การวิเคราะห์เชิงตัวเลขในทางการเงินโดยอาศัยกระบวนการตัดสินใจสมัยใหม่ วิธีการสร้างแบบจำลองของตลาดการเงินในบริบทของการประยุกต์ใช้จริงทางการเงิน ด้านคณิตศาสตร์ และทางสถิติ เครื่องมือทางการเงินที่ทันสมัย และเทคนิคจัดการความเสี่ยง นำไปสู่การวิเคราะห์แบบจำลองทางการเงินเพื่อแก้ปัญหาทางการเงินโดยเฉพาะ
ธุรกิจของวาณิชธนกิจ และบทบาทของวาณิชธนกิจในอุตสาหกรรมการบริการทางการเงิน และ ในระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจหลัก ๆ ของวาณิชธนกิจ เช่น การให้คำปรึกษาทางการเงิน การ ประเมินมูลค่าทางการเงิน การจำหน่ายหลักทรัพย์ต่อมหาชน การค้าหลักทรัพย์ การจัดการ ระดมทุน การจัดการเงินร่วมทุน วิศวกรรมการเงิน การบริหารความเสี่ยง เครื่องมือการเงินใน ตลาดเงิน และการบริหารการเงิน
วิวัฒนาการทฤษฎีทางด้านการเงิน เน้นการตัดสินใจลงทุนภายใต้ความเสี่ยง การพัฒนาทฤษฎีทุนของเงินทุน รวมทั้งตัวแบบต่างๆ ที่ใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับธุรกิจการบริหารการเงิน
ชนิดของหลักทรัพย์การเงิน แหล่งและชนิดของข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์วิธีการและ หลักการต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจลงทุน หลักการและการปฏิบัติขั้นพื้นฐานในการจัดการลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งการจัดการการลงทุนของบุคคล และการจัดการการ ลงทุนของสถาบัน
ลักษณะและขอบเขตของตลาดทุน และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง กลไกสำคัญต่าง ๆ ของการดำเนินงานในตลาดทุน ศึกษาทฤษฎีการลงทุนในหลักทรัพย์ ทฤษฎีการจัดการหลักทรัพย์ และวิธีการนำทฤษฎีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย
ศึกษาสินทรัพย์ทางการเงิน ตลาดเงิน โลกาภิวัตน์ และตลาดตราสารอนุพันธ์ พัฒนาการของตลาดเงิน สถาบันการเงินเพื่อรับฝากเงิน การธนาคารกลางและนโยบายการเงิน บริษัทประกันภัย ธุรกิจการลงทุนและกองทุนบำนาญ การกำหนดราคาของสินทรัพย์ทางการเงินและอัตราดอกเบี้ย ระดับและโครงสร้างของอัตราดอกเบี้ย ตลาดพันธบัตรของบริษัทเอกชน ตลาดหุ้น ตลาดการซื้อขายล่วงหน้า การแลกเปลี่ยน
การวิเคราะห์ทางการเงินและการบริหารการลงทุนซึ่งมีความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่นักวิเคราะห์ทางการเงินและผู้จัดการกองทุน วิชานี้จะครอบคลุมศาสตร์หลายด้านที่เกี่ยวข้อง อาทิ เช่น บัญชีการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การบริหารพอร์ตลงทุน และ จรรยาบรรณ เป็นต้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร
การวิเคราะห์ทางการเงินและความเสี่ยงซึ่งมีความสำคัญในการทำหน้าที่นักวิเคราะห์และผู้จัดการความเสี่ยงในสถาบันการเงิน วิชานี้จะครอบคลุมศาสตร์หลายด้านที่เกี่ยวข้อง อาทิ เช่น ตลาดการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การวิเคราะห์เชิงปริมาณ แบบจำลองการประเมินมูลค่าและความเสี่ยง การวัดและการบริหารความเสี่ยง และ การบริหารการลงทุน วิชานี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร Financial Risk Manager (FRM®)
การวางแผนทางการเงินด้านต่างๆที่จำเป็นสำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน ได้แก่ การวางแผนลงทุน การวางแผนความเสี่ยงและการประกันภัย การวางแผนการจัดการรายได้และออมเงินเพื่อเกษียณ การวางแผนภาษี การวางแผนที่ดินและมรดก วิชานี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร Certified Financial Planner (CFP®)
วิชานี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ศาสตร์ทางด้านการเงินเชิงพฤติกรรม โดยหัวข้อในวิชานี้ประกอบไปด้วย การเงินมาตรฐานเมื่อเทียบกับการเงินเชิงพฤติกรรม ทฤษฎีอรรถประโยชน์ ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ อโนมาลี่ทางการเงิน ข้อจำกัดการทำอาบิทราจ ทฤษฎีความคาดหวัง การจัดระบบบัญชีในจิตใจ อคติทางจิตวิทยา อคติทางการรับรู้ กฏอย่างง่ายในการตัดสินใจ และสไตล์การลงทุนต่างๆอย่าง การลงทุนสไตล์เน้นคุณค่าหรือเน้นการเติบโต และการลงทุนสไตล์โมเมนตัม วิชานี้จะช่วยพัฒนาความรู้และความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับงานวิจัยเชิงประจักษ์ทางด้านการเงินเชิงพฤติกรรมและสไตล์การลงทุนต่างๆที่ได้รับความนิยม นอกจากนี้ วิชานี้ยังช่วยให้นักศึกษาสามารถตระหนักถึงข้อผิดพลาดและอคติที่มักเกิดขึ้นซ้ำๆในการประมาณการณ์และการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน และนำไปสู่การหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดดังกล่าวในการตัดสินใจลงทุนได้ในท้ายที่สุด
จุดประสงค์หลักของวิชานี้คือการอธิบายความรู้ และการพัฒนาแบบจำลองทางการเงินโดยการประยุกต์ใช้โปรแกรมเอกซ์เซล และโปรแกรม ดีสซีชั่น ทูร สูท แบบจำลองที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากวิชานี้จะครอบคลุมแบบจำลองด้านการบริหารการเงินองค์กร, แบบจำลองด้านบริหารพอร์ตลงทุน ,แบบจำลองการประเมินมูลค่าออปชั่น, แบบจำลองด้านการบริหารตราสารหนี้ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคนิคการทำซิมมูเลชั่น
สภาพแวดล้อม และปัญหาในการบริหารการเงินของธุรกิจระหว่างประเทศ เช่น ระบบการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงินระหว่างประเทศ แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และผู้ลงทุนระหว่างประเทศ การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน และโครงสร้างของเงินทุน
แนวความคิดในการจัดทำข้อเสนอเพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการ การขยายงานธุรกิจ การเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาธุรกิจใหม่ อภิปรายขั้นตอนในการศึกษาความเหมาะสมของโครงการในด้านเทคนิค ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงิน และด้านการจัดการ ตลอดจนการเขียนและเสนอรายงาน
ปัญหาทางด้านการเงินของธุรกิจ ปัญหาในด้านการจัดการทางการเงิน การวางแผนการลงทุน แหล่งเงินทุน และการจัดสรรเงินปันผล โดยเน้นการนำทฤษฎี เครื่องมือและเทคนิคทางการเงินเข้ามาประยุกต์เพื่อแก้ไขปัญหา โดยใช้กรณีศึกษาและงานวิจัยในประเทศไทยและต่างประเทศ
การศึกษาเชิงลึกเป็นรายบุคคลในหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาของตนเป็นการศึกษาตามแนวแนะโดยอนุมัติของคณบดี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของคณะบุพวิชา: ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของผู้สอน
การศึกษาในหัวข้อพิเศษและทันสมัยทางธุรกิจ ซึ่งคณะจะกำหนดให้เรียนตามความเหมาะสม โดยหัวข้อเรื่องจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนเปิดภาคการศึกษา บุพวิชา: ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของผู้สอน
สาขาการบริหารการปฏิบัติการ
เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล การสำรวจแนวความคิด โปรแกรมสำเร็จรูปและแพคเก็จซอฟแวร์เพื่อสร้างรูปแบบการตัดสินใจและความน่าจะเป็นสำหรับการตัดสินใจ เช่น รูปแบบที่เกิดผลผลิตสูงสุด วิเคราะห์การตัดสินใจ รูปแบบการจัดคิว การจำลองแบบ วิธีการคาดการณ์ ฯลฯ
แนวคิดและเทคนิคสำหรับการออกแบบ การวางแผน การควบคุมการปฏิบัติการบริการ รวมถึง ทำเลที่ตั้งการบริการ การออกแบบสถานที่ให้บริการ การจัดการประสิทธิภาพและความต้องการแรงงานด้านบริการ การกำหนดตารางเวลา การจัดคิว และ ผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ต่อปฏิบัติการบริการ
แนวคิดและความหมายของปรัชญาในการจัดการคุณภาพแบบต่าง ๆ เครื่องมือและเทคนิคการ ควบคุมคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพ การรับประกันคุณภาพ การบูรณาการการจัดการ คุณภาพในองค์การ
แนวคิดและทฤษฎีรูปแบบการจัดการโครงการทั้งหมดตลอดวงจร ทั้งการคัดเลือก การให้คำ จำกัดความ การริเริ่ม การวางแผน การปฏิบัติการ การติดตาม การควบคุม ทบทวน ความสำเร็จของโครงการและหลังการนำโครงการไปใช้
การกำหนดขอบเขตของกลยุทธ์ทางด้านการปฏิบัติการ และความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ทางด้านการปฏิบัติการกับกลยุทธ์รวมขององค์กร ความสำคัญของผลิตภาพ การเพิ่มผลิตภาพขององค์กรในการแข่งขันระดับโลก การวางระบบการปฏิบัติการให้เหมาะสมกับสภาพการแข่งขันของตลาด การออกแบบระบบการปฏิบัติการโดยวิเคราะห์จากกรณีศึกษาที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ในด้านการปฏิบัติการ
แนวคิดและเครื่องมือสมัยใหม่ในการบริหารโซ่อุปทานโดยการจัดการข้อมูล และสินค้าในเครือข่ายของลูกค้า ผู้จัดหาสินค้า และผู้ผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล วิธีการคาดการณ์ความต้องการ การควบคุมสินค้าคงคลัง การออกแบบเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน การจัดหา การทำสัญญาและการสร้างความร่วมมือในห่วงโซ่อุปทาน
แนวคิดและเครื่องมือในการทำความเข้าใจและการออกแบบเกี่ยวกับกระบวนการทางธุกิจ การกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของบุคลากรบนพื้นฐานของกระบวนการทางธุรกิจการจัดการการไหลของข้อมูลและงานในองค์กรให้สอดคล้องกับกระบวนการการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความสอดคล้องของกระบวนการที่ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่
วิชานี้มุ่งเน้นองค์ความรู้ด้านการออกแบบและการบริการสาธารณสุขโดยประยุกต์ใช้เครื่องมือด้านบริการเพื่อเพิ่มผลิต เพิ่มความเร็วในการตอบสนองการให้บริการ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมภาคบริการโดยรวม
แนวคิดและเครื่องมือสมัยใหม่ในการบริหารโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์โดยการศึกษาจะคลอบคลุมถึงกลยุทธ์ในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ระบบการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับห่วงโซ่อุปทาน การบริหารและควบคุมสินค้าคงคลัง วิธีการคาดการณ์อุปสงค์ การจัดหาเชิงกลยุทธ์ การทำสัญญาและการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในห่วงโซ่อุปทาน การออกแบบเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน ดิจิตัลเทคโนโลยีใหม่สำหรับการบริหารห่วงโซ่อุปทาน เช่น บล็อคเชน และระบบปัญญาประดิษฐ์
ระบบขนส่ง การจัดการคลังสินค้า การจัดหาและส่งวัสดุ การพัฒนาระบบการขนส่งกําลังบำรุงอย่างบูรณาการซึ่งครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบไปจนถึงการเคลื่อนย้ายสินค้าสำเร็จรูปสู่ผู้บริโภค การวางแผนและการควบคุมระบบดังกล่าว
แนวความคิดในการจัดทำข้อเสนอเพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการ การขยายงานธุรกิจ การเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาธุรกิจใหม่ อภิปรายขั้นตอนในการศึกษาความเหมาะสมของโครงการในด้านเทคนิค ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงิน และด้านการจัดการ ตลอดจนการเขียนและเสนอรายงาน
แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานของการตั้งราคา, ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการตั้งราคา, เทคนิคและกลวิธีการเพิ่มรายได้สูงสุดเมื่อมีข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ทางธุรกิจ, การบริหารรายได้, การออกแบบและประเมินผลการให้ส่วนลด, รวมถึงนวัตกรรมการตั้งราคาแบบใหม่ โดยวิชานี้ จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างกลยุทธ์การตั้งราคาร่วมกับกลยุทธ์การปฏิบัติการที่เหมาะสม ที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้กับธุรกิจหลากหลายรูปแบบ เช่น การขายปลีก การผลิตสินค้า การขนส่ง การโรงแรม และการบริการทางการเงิน เป็นต้น
ความท้าทายที่สำคัญอย่างหนึ่งในการตัดสินใจทางธุรกิจคือการรับมือกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต เพื่อให้การตัดสินใจนำไปสู่ประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์การ ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำโดยอาศัยข้อมูลเฉพาะเท่าที่มีร่วมกับการใช้วิจารณญาณของตน ดังนั้น การเลือกใช้เทคนิคในการวิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูลอย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินใจที่ดีที่สุดแก่องค์การ รายวิชานี้ ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับขั้นตอนในการพยากรณ์ข้อมูล องค์ประกอบของการพยากรณ์ที่น่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์ วิธีการพยากรณ์แบบต่าง ๆ และการนำเอาไปปรับใช้ในสถานการณ์จริง รวมไปถึงการประเมินและเปรียบเทียบความสามารถและประสิทธิภาพของเครื่องมือในการพยากรณ์แบบต่าง ๆ เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม แม้ว่ารายวิชานี้จะเน้นการนำเครื่องมือในการพยากรณ์ไปใช้เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่หลักการและเครื่องมือเดียวกันนี้ ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์อื่น ๆ อีกมากมาย
การพัฒนากระบวนทัศน์และทักษะของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาโอกาสทางธุรกิจในการเป็นผู้ประกอบการหรือในกระบวนการการพัฒนาธุรกิจใหม่ในยุคดิจิตอล โดยมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้และประยุกต์ใช้เครื่องมือของวิสาหกิจเริ่มต้นใหม่สำหรับการพัฒนาธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ ตัวอย่างของเครื่องมือ เช่น แนวคิดของ ลีนสตาร์ทอัพ การคิดเชิงออกแบบ รูปแบบทางธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ต่อหน่วย การนำเสนอในรูปแบบพิทช์ การเล่าเรื่อง และการหาผู้ร่วมลงทุน เป็นต้น การเรียนรู้จะผ่านการลงมือปฏิบัติจริงในการพัฒนาวิสาหกิจเชิงนวัตกรรมของตนเอง และการสร้างโอกาสในการหาเงินสนับสนุนสำหรับเริ่มต้นธุรกิจ
ความก้าวหน้าต่าง ๆ ในสาขาวิชาการบริหารการปฏิบัติการ วิเคราะห์ และร่วมวิจารณ์หัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารการปฏิบัติการในชั้นเรียน
การศึกษาเชิงลึกเป็นรายบุคคลในหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาของตนเป็นการศึกษาตามแนวแนะโดยอนุมัติของคณบดี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของคณะ บุพวิชา: ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของผู้สอน
การศึกษาในหัวข้อพิเศษและทันสมัยทางธุรกิจ ซึ่งคณะจะกำหนดให้เรียนตามความเหมาะสม โดยหัวข้อเรื่องจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนเปิดภาคการศึกษา บุพวิชา: ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของผู้สอน
สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
การออกแบบระบบสารสนเทศ กระบวนการธุรกิจและการควบคุมภายใน วงจรรายได้ วงจร การผลิตสินค้า วงจรค่าใช้จ่าย กระบวนการจัดซื้อและการจ่ายเงินสด การออกแบบระบบบัญชี และการจัดทำรายงานทางการเงินและรายงานเพื่อการบริหาร การควบคุมและการตรวจสอบ ระบบสารสนเทศ
ระบบฐานข้อมูลโครงสร้างข้อมูลต่างๆ เช่น เน็ตเวิร์คไฮราคี และฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การบำรุงรักษา การเรียกใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการบริหารธุรกิจ การออกแบบฐานข้อมูลที่ใช้ทางการบริหารธุรกิจ
หลักการออกแบบการทำงานของระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ และการออกแบบข้อมูลหลัก แฟ้มข้อมูล การสื่อสาร และระบบการควบคุมการทำงานของระบบสารสนเทศในองค์การ รวมทั้งการนำเสนอผลการวิเคราะห์และการออกแบบระบบสารสนเทศ
ศึกษาเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจในการบริหารโดยมุ่งเน้นไปที่การตลาดอัจฉริยะซึ่งหมายถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องในการสร้างโอกาสทางการตลาดที่สัมพันธ์กับองค์กร และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลในยุคดิจิตอลทั้งจากโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ วิชานี้ยังครอบคลุมเทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ (Decision Support Systems) การสร้างแบบจำลองระบบงานไม่ต่อเนื่อง (Discrete Event Simulation Modeling) การวัดประสิทธิภาพทางธุรกิจ (Business Performance Management) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) และการประยุกต์ใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะในระบบสารสนเทศประเภทอื่น ๆ
หลายๆ องค์กรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของ Big Data ในการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น สามารถสร้างโอกาสในการนำเสนอสินค้า และบริการใหม่ๆ ที่แตกต่างจากคู่แข่งและตรงต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้น วิชานี้มุ่งเน้นการนำเทคนิคและเครื่องมือในการทำเหมืองข้อมูลที่เป็นที่นิยมในการจัดการกับ Big Data ทั้งในด้านการขาย การตลาด และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ โดยวิธีที่ใช้เริ่มตั้งแต่ การจัดการข้อมูล การสำรวจและการเตรียมข้อมูล (Data Exploration and Preparation) การค้นหา ความสัมพันธ์และรูปแบบทั้งหมดที่มีอยู่จริงบนฐานข้อมูล (Pattern Recognition) โดยใช้ระบบโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) การจัดกลุ่มข้อมูล (Cluster Analysis) การจัดลำดับข้อมูล (Sequence Analysis) การหากลุ่มความสัมพันธ์ของข้อมูล (Association Models) การวิเคราะห์พฤติกรรมข้อมูล การประเมินและการพยากรณ์ (Predictive Modeling)
วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการใช้ตัวแบบเชิงปริมาณและวิทยาการจัดการเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสในธุรกิจ นักศึกษาจะได้ฝึกฝนการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ และการสร้างแบบจำลองโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel Solver add-ins เพื่อช่วยในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การจัดสรรทรัพยากร (Resource allocation) การกระจายสินค้า (Distribution) การวางแผนการผลิต (Production planning and scheduling) และการสร้างระบบเครือข่าย (Networking) และฝึกฝนการตรวจสอบ การยืนยัน ความถูกต้อง และการแปลผลโมเดลการตัดสินในเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ศึกษากระบวนการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆที่มีผลกระทบต่อระบบสารสนเทศ และการประเมินความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ เนื้อหาวิชานี้สามารถใช้ในการเตรียมความพร้อมสอบ CISSP (Certified Information Systems Security Professional) ซี่งเป็นประกาศนียบัตรผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ
ศึกษาการออกแบบและสร้างชุมชนออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ทำการบริหาร Facebook Pages และ Online Community Channels อื่นๆ หัวข้อครอบคลุมถึงการสร้างเนื้อหา การสร้างการมีส่วนร่วม (engagement) และกลยุทธ์การใช้ Social Media ในการสร้างชุมชน วิชานี้จะศึกษาถึงกรณีศึกษาของบริษัทต่างๆที่ประสบความสำเร็จในการสร้างชุมชนออนไลน์
เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการ IT ภายใต้มาตรฐานของ ITIL เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับปรุงและออกแบบพัฒนากระบวนการให้บริการของแผนก IT ที่มีต่อลูกค้าหรือผู้ใช้งานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากที่ท่านผ่านการเรียนในวิชานี้แล้วผู้เรียนสามารถจัดสร้างแผนงานปรับปรุงระบบการให้บริการ IT อย่างละเอียดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยท่านจะได้เรียน วิธีการเขียนแผนงานภายใต้ ITIL Project Management และจัดทำเอกสาร รายงาน และวิธีการจัดทำ KPI เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละกระบวนการ ทำงานอย่างครบถ้วน ส่งผลต่อการบริหารจัดการแผนก IT ที่สามารถสร้างความสามารถการแข่งขันขององค์กรได้
ศึกษากระบวนการพัฒนาผู้ประกอบการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วิชานี้ศึกษา IT Business Model นอกจากนี้ยังศึกษาประเด็นต่างๆที่ผู้ประกอบการ หรือ Start-up ด้าน IT ต้องประสบ เช่น การหาเงินทุน กลยุทธ์ การตลาด การเงิน การเขียนแผนธุรกิจ เป็นต้น
ศึกษาขั้นตอนและกระบวนการในการออกแบบนวัตกรรม วิชานี้เน้นการปฏิบัติการจริง (Hand- on) โดยมีการศึกษาออกแบบและวิเคราะนวัตกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น รวมถึงการศึกษาการนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้และการทำสอบนวัตกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย
Agile Project Management เป็นการบริหารงานที่มีความยืดหยุ่น IBM, Cisco และ Yahoo ล้วนแต่ใช้ Agile ในการบริหารโครงการ วิชานี้ยังศึกษาถึง Approach ต่างๆของ Agile เช่น SCRUM และ Adaptive นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงกระบวนการ Agile และการนำ Agile ไปประยุกต์ใช้ในโครงการต่างๆ วิชานี้เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการเตรียมความพร้อมการสอบประกาศนียบัตร PMI-ACP® และ CSM (Certified Scrum Master)
ศึกษาการบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจ โดยเนื้อหาครอบคลุมถึงเครื่องมือเทคนิคและทฤษฎีในการบริหารโครงการทั้งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตาม Curriculum ของ PMI (Project Management Institute) นอกจากนี้ยังรวมถึงการเรียนรู้ซอฟแวร์ที่ใช้ในกากรบริหารโครงการคือ Microsoft Project และเครื่องมือการบริหารโครงการเช่น PERT, Gant Chart, CPM, Project Charter, Work Breakdown Structure (WBS), Critical Path, Earned Value, และ Requirement Analysis, เป็นต้น เนื้อหาวิชานี้ครอบคลุมโครงการเกี่ยวกับเทคโนโลยี รวมถึงโครงการอื่นๆ เองก็ตาม ก็ต้องมีการจัดทำโครงการการวางแผน การวิเคราะห์ การออกแบบระบบ การควบคุมติดตาม การบริหารโครงการเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยในทุกขั้นตอนของการพัฒนาระบบหรือโครงการใดๆ ผู้บริหารจำเป็นต้องทราบถึงรายละเอียดตั้งแต่ 1) Initiating 2) Planning 3) Executing 4) Monitoring & Controlling และ 5) Closing ทั้งห้ากระบวนการมีความเกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบหรือโครงการในทุกๆด้านขององค์กร นอกจากนี้วิชานี้เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการเตรียมตัวสอบประกาศนียบัตร PMP (Project Management Professional) ในวิชานี้จะมีการใช้ Microsoft Project ประกอบการเรียน
แนวคิดการออกแบบ คือ การพัฒนากระบวนการคิดในรูปแบบใหม่ที่ให้ผู้ใช้หรือกลุ่มเป้าหมาย เป็นศูนย์กลางในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาหรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การทำความเข้าใจปัญหาและเรียนรู้ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การตีกรอบปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข การระดมสมอง เพื่อหาแนวคิดในการแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมาย การนำไอเดีย เหล่านั้นมาจัดทำโมเดลต้นแบบ และการทดสอบโซลูชั่น ก่อนที่จะนำไปแก้ไขปัญหาจริง เป็นต้น กระบวนการ เลโก้ ซีเรียส เพลย์ คือ กระบวนการแก้ไขปัญหาการสร้างนวัตกรรมและวางแผนกลยุทธ์ให้แก่องค์กร เป็นเทคนิคที่จะช่วยดึงศักยภาพของสมองและจินตนาการออกมาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้ตัวต่อเลโก้มาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคิด สำหรับในยุคการเปลี่ยนแปลงฉับพลันทางดิจิทัล การประยุกต์นำศาสตร์ของ แนวคิดการออกแบบ และ แอลเอสพี® เข้ามาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เอไอ, ข้อมูลขนาดใหญ่, เทคโนโลยีที่ช่วยในการสรุปภาพรวมของข้อมูลทางธุรกิจ,และ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาทำการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น ก็จะช่วยให้ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำเทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขปัญหาขององค์กรได้เรียนรู้และประเมินความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาใช้ในทุกภาคส่วนขององค์กร การเข้าใจการใช้กรณีศึกษาต่างๆ ของเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้น และมี แผนที่นำทาง หรือ Blueprint ของการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหล่านี้ ไปใช้ในการสร้างกลยุทธ์ต่อไป ซึ่งหัวข้อที่ผู้บริหารจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ ไปใช้ในองค์กรจะประกอบไปด้วย 5 หัวข้อหลักๆ หรือเรียกได้ว่าอยู่ในรูปแบบของมิติ คือ พื้นที่ของปัญหา, พื้นที่ข้อมูล, พื้นที่การวิเคราะห์,พื้นที่เทคโนโลยี, และ พื้นที่ผู้ใช้
การออกแบบประสบการณ์ดิจิทัล มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบสินค้าและการให้บริการเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานดิจิทัล วิชานี้ประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการออกแบบประสบการณ์และการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น แอปพลิเคชันและแพรทฟอร์ม โดยมีผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง ผลลัพธ์ของวิชานี้คือนักศึกษาต้องสามารถสร้างต้นแบบของการให้บริการเทคโนโลยีในรูปแบบที่เข้าไปแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานและตอบสนองความต้องการได้
เนื่องจากในปัจจุบันนี้สร้างคุณค่าให้กับธุรกิจมีความสำคัญเนื้อจากการแข่งขันในธุรกิจแต่ละประเภทนั้นมีสูงขึ้น การเล่าเรื่อง จึงเป็นทักษะที่สำคัญในการช่วยให้ธุรกิจมีคุณค่าและความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เราเชื่อว่าทุกคนสามารถเล่าเรื่องได้ แต่ยังขาดทักษะการเรียบเรียงและนำเสนออย่างไรให้ดูน่าสนใจและพิเศษเราจะเสริมทักษะความสามารถในการเรียบเรียงเนื้อหา การสร้างเนื้อหาให้น่าสนใจ ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น ตัวอักษร เสียง ภาพ หรือวีดีโอ เพื่อสร้างแบรนด์ และสร้างมูลค่าให้ชิ้นงาน วิชานี้สอนให้ออกแบบเรื่องราวผ่านทางแผนภาพการเล่าเรื่อง นอกจากนี้วิชานี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจสร้างผลงานผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างคอนเทนต์ เขียนรีวิว พอร์ดคาสต์ รวมถึงการเริ่มต้นเป็น ยูทูปเบอร์ในแบบฉบับของตนเอง
วิชานี้ศึกษาการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนการนำบล็อกเชนไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจ การบริหารจัดการข้อมูล และการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน วิชานี้ครอบคลุมรูปแบบของธุรกิจและเทคโนโลยีบล็อกเชนไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทคอนแทรคและดิสทริบิวท์เลดเจอร์ ผู้เรียนสามารถเข้าใจในรูปแบบของธุรกิจบล็อกเชนและสามารถออกแบบบล็อกเชนสำหรับการแก้ปัญหาในธุรกิจได้
รายวิชานี้ครอบคลุมเนื้อหาของการทำการพาณิชย์แบบดิจิทัล โดยเน้นกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคสนใจและเลือกซื้อสินค้าของผู้ขาย เนื้อหารวมไปถึงกรอบทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัล รวมไปถึงการนำกรอบแนวคิดมาใช้ในธุรกิจจริง รวมไปถึงการคำนวณหาผลตอบแทนจากการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบต่าง ๆ ผ่านมาตรวัดทางการเงินและการตลาดที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
วิชานี้มุ่งเน้นไปในการประยุกต์ใช้ความรู้ในด้านการจัดการและการตลาด มาผสมผสานกับการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล โดยการใช้ความรู้และเครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านการจัดการและการตลาดมา แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์แบบใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเทคโนโลยี การจัดการ การตลาด และ กฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ
การวิเคราะห์ชั้นสูงเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร โดยใช้กรณีศึกษา และการอภิปรายจากบทความทางวิชาการ การประยุกต์ทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ โดยนักศึกษาต้องเสนอรายงานเพื่อการอภิปรายในชั้น
การศึกษาเชิงลึกเป็นรายบุคคลในหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาของตนเป็นการศึกษาตามแนวแนะโดยอนุมัติของคณบดี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของคณะ บุพวิชา: ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของผู้สอน
การศึกษาในหัวข้อพิเศษและทันสมัยทางธุรกิจ ซึ่งคณะจะกำหนดให้เรียนตามความเหมาะสม โดยหัวข้อเรื่องจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนเปิดภาคการศึกษา บุพวิชา: ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของผู้สอน
สาขากลยุทธ์
การวางแผน กลยุทธ์การสร้างและบริหารแบรนด์ ด้วยการสร้างคุณค่าของแบรนด์ การออกแบบ องค์ประกอบของแบรนด์และกิจกรรมทางการตลาดของแบรนด์ การวางระบบและวิธีการวัด ประเมินคุณค่าของแบรนด์ รวมถึงการพัฒนาเสริมสร้างและรักษาคุณค่าของแบรนด์ในระยะยาว
การประเมินปัจจัยแห่งความสำเร็จและความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การการนำกลยุทธ์มาใช้ในการวางแผนดำเนินงาน ระบบงบประมาณที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ หลักการบัญชีตามความรับผิดชอบ การออกแบบระบบการวัดผลงาน การควบคุมติดตามผลและการประเมินผลการดำเนินงานและความสำเร็จขององค์การ ผลกระทบของระบบการควบคุมการบริหารต่อพฤติกรรมในองค์การและการขับเคลื่อนองค์การตามกลยุทธ์
แนวคิดและเครื่องมือสมัยใหม่ในการบริหารโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์โดยการศึกษาจะคลอบคลุมถึงกลยุทธ์ในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ระบบการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับห่วงโซ่อุปทาน การบริหารและควบคุมสินค้าคงคลัง วิธีการคาดการณ์อุปสงค์ การจัดหาเชิงกลยุทธ์ การทำสัญญาและการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในห่วงโซ่อุปทาน การออกแบบเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน ดิจิตัลเทคโนโลยีใหม่สำหรับการบริหารห่วงโซ่อุปทาน เช่น บล็อคเชน และระบบปัญญาประดิษฐ์
แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานของการตั้งราคา, ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการตั้งราคา, เทคนิคและกลวิธีการเพิ่มรายได้สูงสุดเมื่อมีข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ทางธุรกิจ, การบริหารรายได้, การออกแบบและประเมินผลการให้ส่วนลด, รวมถึงนวัตกรรมการตั้งราคาแบบใหม่ โดยวิชานี้ จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างกลยุทธ์การตั้งราคาร่วมกับกลยุทธ์การปฏิบัติการที่เหมาะสม ที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้กับธุรกิจหลากหลายรูปแบบ เช่น การขายปลีก การผลิตสินค้า การขนส่ง การโรงแรม และการบริการทางการเงิน เป็นต้น
ความท้าทายที่สำคัญอย่างหนึ่งในการตัดสินใจทางธุรกิจคือการรับมือกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต เพื่อให้การตัดสินใจนำไปสู่ประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์การ ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำโดยอาศัยข้อมูลเฉพาะเท่าที่มีร่วมกับการใช้วิจารณญาณของตน ดังนั้น การเลือกใช้เทคนิคในการวิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูลอย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินใจที่ดีที่สุดแก่องค์การ รายวิชานี้ ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับขั้นตอนในการพยากรณ์ข้อมูล องค์ประกอบของการพยากรณ์ที่น่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์ วิธีการพยากรณ์แบบต่าง ๆ และการนำเอาไปปรับใช้ในสถานการณ์จริง รวมไปถึงการประเมินและเปรียบเทียบความสามารถและประสิทธิภาพของเครื่องมือในการพยากรณ์แบบต่าง ๆ เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม แม้ว่ารายวิชานี้จะเน้นการนำเครื่องมือในการพยากรณ์ไปใช้เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่หลักการและเครื่องมือเดียวกันนี้ ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์อื่น ๆ อีกมากมาย
วิชานี้มุ่งเน้นไปในการประยุกต์ใช้ความรู้ในด้านการจัดการและการตลาด มาผสมผสานกับการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล โดยการใช้ความรู้และเครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านการจัดการและการตลาดมา แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์แบบใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเทคโนโลยี การจัดการ การตลาด และ กฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ
ศึกษาปัจจัยที่กำหนดขีดความสามารถในการแข่งขันจากระดับองค์กร กลุ่มอุตสาหกรรม และ ประเทศ ความสามารถในการแข่งขันนี้เป็นการเพิ่มผลิตภาพขององค์กร กลุ่มอุตสาหกรรม และประเทศเพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่ง โดยศึกษาวิเคราะห์จากกรณีศึกษาต่างๆ
การบูรณาการการบริหารธุรกิจเชิงกลยุทธ์โดยคำนึงถึงฟังก์ชั่นด้านต่างๆขององค์กรทางธุรกิจเช้าด้วยกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร เน้นการฝึกปฏิบัติและประยุกต์ใช้หลักการและ เครื่องมือในการบริหารธุรกิจผ่านการจำลองสถานการณ์ เช่น การจัดการด้านการผลิตการกระจายสินค้า การเลือกสถานที่ตั้ง การจัดการด้านการตลาด และการจัดการด้านการเงิน เป็นต้น
วิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์สำหรับการแข่งขันในสถานการณ์การแข่งขันที่เกิดขึ้นคุณจะต้องคิดถึงตัวเลือกของฝ่ายตรงข้าม จุดมุ่งหมายของพวกเขาและวิธีที่พวกเขาจะกระทำหรือตอบสนอง ในขณะเดียวกันพวกเขาก็จะทำเหมือนกันเพื่อที่จะเอาชนะคุณ เป้าหมายของการเรียนการสอนวิชานี้คือ การทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สามารถตัดสินใจเชิงกลยุทธได้ดียิ่งขึ้นและสามารถพัฒนาแนวทางการตัดสินใจที่เป็นระบบและสอดคล้องกับปัญหาได้ รวมถึงสามารถพิจารณาปัญหาและตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายในการแข่งขัน วิชานี้จะมุ่งเน้นวิธีการที่ได้มาจาก การวิเคราะห์ทฤษฎีเกม ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยสมมติฐานและหลักการพื้นฐานและไปสู่เหตุการณ์ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทฤษฎีเกมจะช่วยในการวางโครงสร้างสถานการณ์การแข่งขัน ระบุทางเลือกและเลือกทางเลือกที่มีอยู่ วิธีการตามทฤษฎีเกมจะเป็นประโยชน์อย่างมากที่สุดในสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนที่มีเรื่องของความปรองดองและความขัดแย้งของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเราจะไม่ทราบถึงแรงจูงใจและการตัดสินใจของคู่แข่งในเวลาที่เราต้องตัดสินใจ วิธีการนี้เราจะแบ่งความซับซ้อนออกเป็นส่วนๆ ใช้ เครื่องมือทฤษฎีเกมในการวิเคราะห์แต่ละส่วน แล้วนำแต่ละส่วนมาประกอบรวมกันเพื่อเข้าใจถึงความสอดคล้องกันอย่างมีเหตุผล ในชั่วโมงการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะเป็นการจัดการเกี่ยวกับเกมเชิงกลยุทธ์ซึ่งจะมีผู้เรียนเป็นผู้เล่น และจะเป็นเรื่องการพิจารณาปัจจัย ทางจิตวิทยาที่อาจเป็นอุปสรรคหรือส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ดี
วิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีกรอบการวิเคราะห์และมีเครื่องมือสำหรับสร้าง จัดการหรือลงทุนในธุรกิจที่มีการจัดการปัญหาทางสังคม วิชานี้จะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจบริบทขององค์กรทางสังคมที่ประสบความสำเร็จ และจะอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุน ผู้ประกอบการ และผู้บริหารที่มีความเกี่ยวข้องในด้านนี้ ความสนใจที่เพิ่มมาก ขึ้นของสายงานนี้ทำให้เกิดหนังสือสัญญารูปแบบใหม่ ผู้ลงทุนที่มีความสามารถหน้าใหม่และเกณฑ์การประเมินแบบใหม่ วิชานี้มุ่งเน้นความสำคัญของการขยายองค์กรซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญสำหรับนักลงทุน และเป็นสิ่งที่ท้าท้ายความสามารถของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้บริหาร การกำกับดูแลองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการแก้ปัญหาความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างสังคมและเอกชน อีกทั้งยังทำให้ลักษณะขององค์กรทางสังคมยังคงดำเนินอยู่ต่อไป
วิชานี้ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของผู้เรียนและเพิ่มประสิทธิผลให้แก่องค์กรโดยการใช้จิตวิทยาการตัดสินใจร่วมกับทฤษฎี time-tested ในการเจรจาต่อรองและการตัดสินใจ วัตถุประสงค์ของวิชานี้คือการช่วยให้ผู้บริหารสามารถพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่องและมีวิธีการคิดที่เป็นระบบเพื่อใช้ในการเจรจาต่อรองและการตัดสินใจ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพส่วนบุคคลและประสิทธิผลขององค์กรวิชานี้จะทำให้ผู้เรียนเกิดความคุ้นเคยกับการเจรจาต่อรองและรูปแบบของการตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถรระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองได้ วิชานี้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงประโยชน์ของการเจรจาต่อรองและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้รวมถึงผู้เรียนจะสามารถรับรู้และเอาชนะข้อบกพร่องของตนเองในการเจรจาต่อรองและกระบวนการตัดสินใจได้ นอกจากนี้ผู้เรียนจะสามารถฝึกการพัฒนากรอบการตัดสินใจวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาแผนในการตรวจสอบ ปรับปรุง และฝึกทักษะการเจรจาต่อรองและการตัดสินใจได้
องค์กรมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ องค์กรที่ไม่ได้วางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลงและไม่มีการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีกลยุทธ์ก็จะเสียเปรียบในการแข่งขัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นพนักงานทุกคนจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง และผู้บริหารจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเป็นความรับผิดชอบของทุกคน แต่การวางแผนสำหรับการดำเนินการการเปลี่ยนแปลงเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับผู้บริหารในปัจจุบัน วิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด และการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการการเปลี่ยนแปลงผู้นำ วิชานี้มุ่งเน้นการแก้ไขความขัดแย้งและ การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการเตรียมพนักงานให้สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบของการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพและจะมีส่วนร่วมในการจำลองสถานการณ์
วิชานี้ถูกออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในด้านการให้คำปรึกษาสำหรับบริษัทให้คำปรึกษาที่ต้องการบุคลากรเหล่านี้และสำหรับองค์กรที่จะมีการเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้วทุกๆองค์กรต้องการที่จะประสบความสำเร็จและมักจะใช้ ที่ปรึกษาจากภายนอกเพื่อช่วยในการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนานั้น มักจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สถานะ ตำแหน่งความสามารถ กระบวนการขององค์กร วัฒนธรรมองค์กร ฯลฯ ที่ได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัท เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น กระบวนการต่างๆก็ต้องปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกัน แม้ว่าผู้เรียนจะไม่ได้วางแผนที่จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเป้าหมายในอาชีพ แต่ก็ยังมีโอกาสมากมายทั้งในด้านที่มีความเชี่ยวชาญและชีวิตส่วนบุคคลที่จะใช้ทักษะการให้คำปรึกษา
วิชานี้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจในแนวคิดพื้นฐาน งาน และความรับผิดชอบของการควบคุมดูแลกิจการในระดับของคณะกรรมการผู้บริหาร ที่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนกระบวนการ การปฏิบัติตามระเบียบและกลยุทธ์ จากการที่มีเรื่องทุจริตซึ่งเกิดขึ้นโดยคณะกรรมการผู้บริหาร ทำให้สามารถบ่งชี้ได้ว่าปัจจัยเรื่องรูปแบบและหน้าที่ของคณะกรรมการก่อให้เกิดความผิดพลาดในการควบคุมดูแลกิจการ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จาก การวิเคราะห์กรณีที่เกิดขึ้นจริงและจากการบรรยายและอภิปรายในชั้นเรียน ผู้เรียนจะได้รับมอบหมายงานให้ศึกษากรณีศึกษา(case)สำหรับการวิเคราะห์ในชั้นเรียน ไม่ว่าจะ เป็นการเขียนรายงาน การนำเสนอ หรือการทำการศึกษาเชิงลึก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ รูปแบบหรือหน้าที่ของคณะกรรมการ วิชานี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด้านการกำกับดูแล เช่น องค์ประกอบของคณะกรรมการอำนาจความเป็นอิสระ กระบวนการสรรหา การตรวจสอบ การชดเชย หน้าที่ของคณะกรรมการกระบวนการ มอบอำนาจ มติของผู้ถือหุ้น และการปฏิบัติตามกฎหมาย
Design Thinking เป็นกระบวนการคิดเหมือนนักออกแบบ คือกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ สามารถนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้เทคนิคในการสร้างนวัตกรรม และ กระบวนการออกแบบนวัตกรรม กระบวนการทดสอบ Ideas หรือ Concepts และ กระบวนการวางแผนกลยุทธ์และการพัฒนานวัตกรรมด้วย Design Thinking Approach
วิชาในสาขาการจัดการและสาขากลยุทธ์ส่วนใหญ่จะให้ความรู้ในด้านการสร้างศักยภาพการในการแข่งขันภายใต้กฎเกณฑ์และกลไกของตลาด แต่ว่าในความเป็นจริงแล้วผู้บริหารมักจะต้องรับมือกับการแข่งขันที่ไม่ได้อยู่ภายกฎเกณฑ์และกลไกของตลาด ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลจากหน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มผลประโยชน์ และสื่อมวลชนเป็นต้น ซึ่งกลุ่มเหล่านี้สามารถมีอิทธิพลต่อศักยภาพการในการแข่งขันพอควร วิชานี้จะใช้ทฤษฎีและแนวคิดจากสาขากลยุทธ์และรัฐศาสตร์มาให้ความรู้เกี่ยวกับ: (1) กระบวนการที่กลุ่มต่างๆที่ไม่เกี่ยวกับการตลาดสามารถสร้างและเปลี่ยนแปลงสภาวะของการแข่งขันไม่ให้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และกลไกของตลาด และ (2) วิธีการเผชิญต่ออิทธิพลของกลุ่มเหล่านี้โดยการปรับรูปแบบการแข่งขันโดยใช้กลยุทธ์ที่ไม่เกี่ยวกับการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ วิชานี้จะดำเนินการสอนโดยการบรรยาย การอภิปราย การฝึกหัดภาคปฏิบัติ และการสาธิตที่ศูนย์ปัญญทัศน์เพื่อการจัดการ
วิชานี้ให้ความรู้ทางด้านประสาทวิทยาที่เกี่ยวกับความเป็นผู้นำ โดยใช้แนวคิดและเทคนิคที่ได้จากวิจัยล่าสุดทางประสาทวิทยาและจิตวิทยามาเสริมสร้างและพัฒนาทักษะความสามารถในการเป็นผู้นำขององค์กรและการทำงานเป็นทีม โดยวิชานี้จะครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น บทบาทของ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของสมองในการส่งเสริมและพัฒนาบุคคลากร/องค์กร วิธีการนำความคล่องตัวของสมองและความหลากหลายในความคิดมาใช้ในพัฒนาความเป็นผู้นำ ข้อจำกัดทางด้านประสาทนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจที่บกพร่องอย่างไรและผู้นำสามารถหลีกเลี่ยงกระบวนการตัดสินใจที่บกพร่องดังกล่าวอย่างไร ตลอดจนการทำความเข้าใจเรื่องทฤษฎีการแพร่ระบาดทางอารมณ์ และความฉลาดทางอารมณ์ ว่าสามารถส่งผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมของผู้ร่วมงานอย่างไร โดยเฉพาะในด้านการการสร้างแรงจูงใจและการบริหารความขัดแย้งระหว่างผู้ร่วมงาน วิชานี้จะดำเนินการสอนโดยการบรรยาย การอภิปราย การฝึกหัดภาคปฏิบัติ และการสาธิตที่ศูนย์ปัญญทัศน์เพื่อการจัดการ
การพัฒนากระบวนทัศน์และทักษะของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาโอกาสทางธุรกิจในการเป็นผู้ประกอบการหรือในกระบวนการการพัฒนาธุรกิจใหม่ในยุคดิจิตอล โดยมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้และประยุกต์ใช้เครื่องมือของวิสาหกิจเริ่มต้นใหม่สำหรับการพัฒนาธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ ตัวอย่างของเครื่องมือ เช่น แนวคิดของ ลีนสตาร์ทอัพ การคิดเชิงออกแบบ รูปแบบทางธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ต่อหน่วย การนำเสนอในรูปแบบพิทช์ การเล่าเรื่อง และการหาผู้ร่วมลงทุน เป็นต้น การเรียนรู้จะผ่านการลงมือปฏิบัติจริงในการพัฒนาวิสาหกิจเชิงนวัตกรรมของตนเอง และการสร้างโอกาสในการหาเงินสนับสนุนสำหรับเริ่มต้นธุรกิจ
วิชานี้ให้ความรู้เกี่ยวกับประสาทวิทยาที่สามารถนำไปปฎิบัตใช้กับธุรกิจและการจัดการ โดยวิชานี้จะครอบคลุมหลายหัวข้อ อาทิ การฝึกสมองและการเพิ่มประสิทธิภาพทางปัญญา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับมุมมอง ลดอคติและสมมติฐาน เพิ่มความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ตลอดจนการปรับเพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้วิชานี้ยังครอบคลุมการใช้ประสาทวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร ตลอดการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ วิชานี้จะดำเนินการสอนโดยการบรรยาย การอภิปราย การฝึกหัดภาคปฏิบัติ และการสาธิตที่ศูนย์ปัญญทัศน์เพื่อการจัดการ
การศึกษาเชิงลึกเป็นรายบุคคลในหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาของตนเป็นการศึกษาตามแนวแนะโดยอนุมัติของคณบดี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของคณะ บุพวิชา: ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของผู้สอน
การศึกษาในหัวข้อพิเศษและทันสมัยทางธุรกิจ ซึ่งคณะจะกำหนดให้เรียนตามความเหมาะสม โดยหัวข้อเรื่องจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนเปิดภาคการศึกษา บุพวิชา: ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของผู้สอน
วิชาการค้นคว้าอิสระ การวิเคราะห์เพื่อทราบอาการ และสาเหตุของปัญหาทางธุรกิจ เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ การตรวจสอบทางธุรกิจ และการวางแผนธุรกิจโดยบูรณาการหน้าที่ทางธุรกิจต่าง ๆ บุพวิชา : บธ 6100 บธ 6200 บธ 6300 บธ 6400 และ บธ 6500 สำหรับนักศึกษาใน หลักสูตรแผน ข
สมัครหลักสูตร Professional MBA
กำหนดการ | Professional MBA รุ่นที่ 20 |
ครั้งที่ 1 | |
1. รับสมัครทางเว็บไซต์ คลิกที่นี่ | บัดนี้ - 28 ก.พ. 2568 |
2. รับสมัครด้วยตนเอง | บัดนี้ - 28 ก.พ. 2568 |
3. ประกาศรายชื่อและสถานที่สอบสัมภาษณ์ | 7 มี.ค. 2568 |
4. สอบสัมภาษณ์ | 12 - 14 มี.ค. 2568 |
5. ประกาศผลคัดเลือก | 24 มี.ค. 2568 |
6. รับเอกสารขึ้นทะเบียน/ลงทะเบียน | 24 - 27 มี.ค. 2568 |
7. ชำระค่าลงทะเบียนเป็นนักศึกษา | 24 - 28 มี.ค. 2568 |
8. Intensive Course | เดือนกรกฎาคม 2568 |
9. เปิดภาคเรียน | 9 ส.ค. 2568 |
10. จำนวนหน่วยกิต | 48 หน่วยกิต |
11. ค่าใช้จ่ายรวม (ประมาณ) | 316,800 บาท (สำหรับนักศึกษาไทย) 348,800 บาท (สำหรับนักศึกษาอาเซียน) 356,800 บาท (สำหรับนักศึกษาต่างชาติ) |
12. การคัดเลือก | สอบสัมภาษณ์อย่างเดียว |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
อ่านประกาศรับสมัคร Click |