รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อสร้างสรรค์ ชุด HR Japanese หัวข้อ “Let it go with LEAN”
รายงานผลการจัดโครงการประกันคุณภาพการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ
กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อสร้างสรรค์ ชุด HR Japanese หัวข้อ “Let it go with LEAN”
วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2559 เวลา 9.00 - 12.00 น.
ณ ห้อง 201 ชั้น 2 อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
+++++++++++++++++++
รองศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดี นิด้า ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการประกันคุณภาพการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อสร้างสรรค์ ชุด HR Japanese หัวข้อ “Let it go with LEAN” เมื่อวันพุธที่ 1 มิถุนายน 2559 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ ห้อง 201 ชั้น 2 อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เป็นการถ่ายทอดความรู้แบบ Tacit Knowledge ในกระบวนการ KM ให้กับบุคลากรของคณะ และผู้ที่ต้องการจะรู้
- เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Lean Management
โดยคณะบริหารธุรกิจมอบหมายให้ ศาสตราจารย์ ดร.มณีวรรณ ฉัตรอุทัย รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา เป็นวิทยากรและที่ปรึกษาโครงการ นางสาวสมศรี ผลพานิชเจริญ รักษาการหัวหน้ากลุ่มงานแผนและพัฒนา และนางศิริมา แสงมนุษย์ ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ บุคลากรของคณะบริหารธุรกิจ ศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจ และบุคลากรชาวนิด้าที่สนใจ จำนวน 48 คน
รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ได้นำเสนอแนวคิดแบบ Lean โดยการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มคุณค่า (Value) ให้กับผู้รับบริการให้มากที่สุด โดยกำหนดคุณค่าจากมุมมองของผู้รับบริการค้นหาความสูญเปล่า (Waste-Muda) และลดหรือขจัดความสูญเปล่าให้หมดไปหรือให้เหลือน้อยที่สุดทำให้กระบวนการทำงานไหล (Flow) อย่างราบรื่นไม่สะดุด (Seamless) ผ่านกิจกรรมเกมส์ โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสวมบทบาท หมวก 6 ใบ 6 สี เป็นแนวคิดที่เรียกว่า "Six Thinking Hats" ซึ่งเป็นวิธีคิดที่มีมุมมองแบบ "รอบด้าน" ความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้บริหาร เพราะนอกจากจะช่วยสร้างสิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังช่วยในการคิดค้นกลยุทธ์แก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่ง "เดอ โบโน" พบว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่หรือสร้างขึ้นมาได้ แต่จะต้องมาฝึกกระบวนการสร้างความคิดดังกล่าว ในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอน ทุกคนย่อมต้องมีการคิดในเรื่องต่างๆ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน จึงได้ให้เทคนิค “6 หมวกการคิด” เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมี ประสิทธิภาพมากขึ้นดังนี้
- White Hat หมวกสีขาว สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น
- Red Hat หมวกสีแดงสีแดง เป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ
- Black Hat หมวกสีดำ สีดำ เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้องพูดถึงจุดด้อย อุปสรรคโดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่ ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น
- Yellow Hat หมวกสีเหลือง สีเหลือง คือสีของแสงแดด และความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาส ให้พัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
- Green Hat หมวกสีเขียว สีเขียว เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
- Blue Hat หมวกสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ จะเป็นเหมือนท้องฟ้า หมวกนี้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารกระบวนการคิด หรือการจัดระเบียบการคิด
โดยสรุปการประเมินผลการจัดกิจกรรม ดังนี้
- จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 42 คน เป็นผู้หญิง 35 คน และผู้ชาย 7 คน
- ประเมินความคิดเห็นก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
- ระดับความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48
ซึ่งจัดอยู่ในระดับมากที่สุด
3.ประเมินความคิดเห็นหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ซึ่งจัดอยู่ในระดับมากที่สุด
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคิดว่าจะนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ได้จริง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74
ซึ่งจัดอยู่ในระดับมากที่สุด
- ภาพรวมประโยชน์ของกิจกรรมในครั้งนี้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76
ซึ่งจัดอยู่ในระดับมากที่สุด
- ระดับความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมครั้งถัดไป มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74
ซึ่งจัดอยู่ในระดับมากที่สุด